น้ำทะเลสีเขียว Plankton Bloom

วันที่เผยแพร่: 
Mon 14 August 2023

           โดยปรากฏการณ์ Plankton Bloom หรือปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีหรือปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (water discolouration)เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว (บลูม หรือ Bloom)ของแพลงก์ตอนพืช เนื่องจากแพลงก์ตอนเหล่านี้ต่างก็มีสีในตัวเอง เมื่อเกิดการเจริญเติบโตจำนวนมาก จึงทำให้สีของน้ำทะเลเปลี่ยนไปตามสีของแพลงก์ตอนชนิดที่มีมากในขณะนั้น เช่น สี แดง เกิดจากแพลงก์ตอนสกุล เซอราเตียม (Ceratium sp.) สีส้มเกิดจากสกุลเพอริดิเนียม( Peridinium sp.) หรือ สีเขียวเกิดจากสกุลนอคติลูกา ( Noctiluca sp.) เป็นต้น  

          ส่วนสาเหตุการเกิดปรากฏการณน้ำทะเปลี่ยนสีคาดว่าเกิดจากช่วงนี้มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการชะล้างเอาแร่ธาตุจากหน้าดินไหลลงสู่ทะเลจำนวนมาก มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเพราะเราเพิ่มธาต อาหารลงไป ทั้งการเกษตร น้ำทิ้ง ฯลฯ เช่น ไนโตรเจนและฟอสเฟตมากอยู่แล้ว จึงยิ่งเหมือนเติมปุ๋ยลงน้ำทะเล ขณะเดียวกัน อุณหภูมิ ความเค็มของน้ำทะเล รวมถึงแสงแดดอยู่ในช่วงพอเหมาะจึงทำให้แพลงก์ตอนเกิดการสังเคราะห์แสงและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วปกคลุมผิวหน้าน้ำ  แพลงตอนบลูมเริ่มก่อตัวในทะเลนอก และขยายจำนวนขึ้น จนเข้าสู่ระยะสุดท้ายบริเวณชายฝั่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดน้ำเข้าไปรวมทีอ่าวไทยตอนในแถวชลบุรี ทำให้น้ำเขียวรวมตัวอยู่แถบนั้นระยะสุดท้ายของแพลงตอนบลูมจะเกิดเพียงช่วงสั้นๆ ไม่กี่วัน จากนั้นจะหมดไป แต่อาจเกิดขึ้นใหม่ตามลมที่พัดพามวลน้ำเข้ามายังมีปรากฏการณ์แพลงตอนบลูมที่เกิดตามปากแม่น้ำได้อีกด้วย แต่สุดท้ายลมในช่วงนี้ก็พัดไปรวมที่ชายฝั่งชลบุรี เมื่อถึงช่วงปลายปี ลมมรสุมเปลี่ยนทิศ แพลงตอนบลูมแถวชลบุรีอาจลดลง แต่ปีหน้าก็อาจกลับมาใหม่ตามลมมรสุม

         ดังนั้นเมื่อมีปริมาณแพลงก์ตอนมากก็ยิ่งทำให้มีการใช้ออกซิเจนในการหายใจมากตามไปด้วย ออกซิเจนที่อยู่ในน้ำจึงลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งเมื่อแพลงก์ตอนหนาแน่น เซลล์บางส่วนก็จะตาย แบคทีเรียจะย่อยสลายโดยต้องใช้ออกซิเจนอีก ส่งผลทำให้น้ำเริ่มเน่า สิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำ สัตว์หน้าดิน และสัตว์ที่ฝังตัวอยู่ในดินเริ่ม ขาดอากาศหายใจและตายเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นว่ามีทั้งปลา ไส้เดือนดิน หอยทับทิม ปูเสฉวน หอยเสียบ ปูม้า ปลาลิ้นหมา ขึ้นมาตายจำนวนมาก

           โลกร้อนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับแพลงตอนบลูม ตามการศึกษาต่างประเทศที่พบว่าน้ำเขียวทั่วโลกเกิดถี่ขึ้นเรื่อย และขยายพื้นที่ไปในบริเวณต่างๆ ของโลก หากเรายังไม่ทำอย่างเป็นระบบ ไม่มีข้อมูลเพียงพอ ทำได้แค่น้ำเขียวเมื่อไหร่ก็ไปตรวจสอบเหมือนอย่างที่เป็นมา เราก็ย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่มีแนวโน้มว่าน้ำเขียวจะเพิ่มขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยในอนาคต ในขณะเดียวกัน การยกระดับการบำบัดน้ำทิ้ง การปรับเปลี่ยน  การเกษตรให้เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาที่ต้นเหตุ

            น้ำคือทุกอย่างของทะเล เมื่อน้ำมีปัญหา ทุกอย่างในทะเลก็มีปัญหา กิจการเกี่ยวกับทะเลย่อมได้รับผลกระทบเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะที่ แต่เป็นปัญหาในภาพรวม การแก้ไขไม่สามารถทำเฉพาะครั้งคราว แต่ต้องลงทุนลงแรงทำจริงจังต่อเนื่อง เรียนรู้เพื่อกำหนดเป้าในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หากเราไม่ทำ ทะเลเราก็แย่ลง กิจการเกี่ยวกับทะเลก็ได้รับผลกระทบมากขึ้น

สุดท้ายไม่ว่าโลกเราซับซ้อนมากขึ้น ตัวแปรมีมากมาย หากเราอยากอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ได้ประโยชน์ให้เนิ่นนาน เราต้อง “รู้จัก” ทะเลให้มากขึ้น

แหล่งที่มา
https://geo.buu.ac.th/1862-2/
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4125691

รูปจาก
https://mgronline.com/

เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
instagram : stkcsociety

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-plankton-bloom
Hits 1,170 ครั้ง