"ฝาแฝด" ความเหมือนที่แตกต่าง

วันที่เผยแพร่: 
Mon 29 March 2021

ถ้าพูดเรื่อง ฝาแฝด อย่างที่ทุกคนเคยเรียนในวิชาชีววิทยา ก็มักจะรู้อยู่แล้วว่า แฝดนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ แบบที่ 1 แฝดที่เหมือนกันแบบเป๊ะๆ ซึ่งบางคนเรียกว่า

แฝดใบเดียวกัน (เกิดจากไข่ของแม่เซลล์เดียว และอสุจิของพ่อเซลล์เดียว) แฝดแบบนี้บอกได้เลยว่าใครที่ไม่คุ้นเคยเห็นก็คงแยกไม่ออกแน่ๆ กับอีกแบบนึง ก็คือ แฝดที่บางคน

ก็จะเรียกว่าแฝดคนละใบ (ไม่ได้เกิดจากไข่ของแม่ใบเดียวกัน และไม่ได้เกิดจากอสุจิของพ่อตัวเดียวกัน) คืออาจจะเป็นฝาแฝดที่หน้าไม่เหมือนกันเลย หรือต่างเพศกันนั่นเอง

ในตำรามักจะสอนว่า แฝดใบเดียวกัน จะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกัน 100 เปอร์เซ็นต์ซึ่งอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราเคยเรียนกันมาซะแล้ว เพราะมีงานวิจัยล่าสุด สดๆร้อนๆ

ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Genetics โดยทีมวิจัยของ Jonsson et al. (2021) ได้ศึกษาการเกิดโรคบางประเภทในฝาแฝดแต่ละคู่ ที่ได้ตั้งสมมติฐานว่า แท้จริงแล้วสาเหตุ

เกิดจากพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงหรือสภาพแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นกันแน่

โดยในงานวิจัยล่าสุดมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมบางส่วนที่ทำให้ฝาแฝดบางคู่อาจจะมีรหัสพันธุกรรมต่างกันเล็กน้อยและส่งผลบางอย่าง

เช่น การเกิดโรคบางชนิดที่อาจจะเกิดกับแค่คนใดคนหนึ่งเท่านั้น ทางทีมวิจัยได้ลองถอดรหัสพันธุกรรมหรือ จีโนมของฝาแฝดที่เป็นอาสาสมัครจำนวนหลายคู่ และพบความแตกต่าง

บางอย่างในดีเอ็นเอในบางคู่ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าความแตกต่างทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในฝาแฝด น่าจะเกิดตั้งแต่ในช่วงที่มีการแบ่งเซลล์จากหนึ่งเป็นสอง

ซึ่งข้อมูลนี้จะสอดคล้องกับ Bruder et al. (2008) ที่เคยตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างของลักษณะพันธุกรรมของฝาแฝดเช่นเดียวกัน ซึ่งทีมวิจัยนี้ได้ถอดรหัส

พันธุกรรมของคู่ฝาแฝดที่มีคนใดคนหนึ่งป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน และพบว่ามีความแตกต่างของรหัสพันธุกรรมในบางส่วน ซึ่งความแตกต่างนี้ไม่เหมือนกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก

การถูกกระตุ้นด้วยสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นลักษณะนี้ ไม่ได้เกิดกับฝาแฝดทุกคู่และ ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งเท่าไรนัก

สำหรับข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ถือว่าเป็นเหมือนองค์ความรู้ใหม่และเป็นจุดเริ่มต้นที่อาจจะใช้ในการตอบคำถามเกี่ยวกับปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นใน

ร่างกายมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ที่นักวิทยาศาสตร์ยังต้องหาคำตอบเพิ่มเติมถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

shutterstock 533865133

ผู้เขียน ตามพงศ์ เหลืองบริบูรณ์
ที่มา https://www.nsm.or.th/other-service/1757-online-science/knowledge-invent...

แหล่งอ้างอิง
1. Really? Identical Twins Have Identical DNA [ออนไลน์], march 11, 2008. แหล่งที่มา :

https://www.nytimes.com/2008/03/11/health/11real.html

2. Some identical twins don’t have identical DNA [ออนไลน์], January 7, 2021. แหล่งที่มา :

https://www.sciencenews.org/article/some-identical-twins-dont-have-ident...

3. Hakon Jonsson, Diffrences between germline genomes of monozygotic twins, Nature Genetics, January 7, 2021. แหล่งที่มา

:https://www.nature.com/articles/s41588-020-00755-1

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87
Hits 368 ครั้ง