มัทฉะ VS ชาเขียว
FYI Today! ช่วงนี้เลื่อนไปทางไหนในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็เจอสิ่งที่เรียกกันว่า "ชาเขียว" หรือ "มัทฉะ" ไม่หยุดไม่หย่อน
จนหลายคนอาจไปสอบมาลิ้มลองบ้างแล้ว ใคร่รู้ว่าทำไมอยู่ ๆ ช่วงนี้ถึงหันมาดื่มกันทั่วบ้านทั่วเมือง แล้ว "ชาเขียว" หรือ "มัทฉะ" ต่างกันอย่างไร บทความนี้จะคลายความสงสัยได้ไม่มากก็น้อย
ชาเขียวกับมัทฉะ แตกต่างกันอย่างไร?
ชาทั้งสองแบบนี้นั้นมาจากต้นชาชนิดเดียวกัน คือต้นชา (Camellia Sinensis) แต่แตกต่างกันที่กรรมวิธีการผลิต ชาเขียว (Green Tea) ที่รู้จักกันนั้นมักใช้ในรูปแบบใบ ซึ่งจะนำมาทำให้แห้งหรือใส่ในถุงชา ก่อนที่จะนำไปต้มในน้ำร้อนระยะเวลาหนึ่ง มัทฉะ (Matcha) ก่อนการเก็บเกี่ยวประมาณ 20 - 30 วัน มัทฉะจะถูกคลุมด้วยตาข่ายที่ช่วยป้องกันแสง เพื่อเป็นการทำให้ใบชาผลิตคลอโรฟิลล์และสารประกอบภายในมากขึ้น หลังจากนั้นใบชาที่มีสีเขียวเข้มนั้นจะถูกนำมาบด และกากใยออกจนหมด และในที่สุดก็จะได้ผงมัทฉะที่มีสีสันสดใสกว่าปกติออกมา
ฉะนั้น “มัทฉะ” จึงมีคุณภาพและแอนติออกซิแดนซ์สูงกว่า เสมือนเป็นการดื่มใบชาทั้งใบนั่นเอง อีกทั้งยังมีรสชาติก็มักจะเข้มข้นกว่าด้วย ทั้งนี้ในมัทฉะนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า คาเตชิน อยู่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว สูงมากกว่าในชาเขียวทั่วๆไปถึง 137 เท่า และมากกว่าในชาเขียวอย่างดีชนิดอื่น ๆ ถึง 3 เท่า
ความแตกต่างระหว่าง มัทฉะ และ ชาเขียว ที่ชัดเจนที่สุด คือ ลักษณะที่นำมาใช้ชง เนื่องจากชาเขียวจะมาในรูปแบบของใบชาแห้ง ในขณะที่มัทฉะมาในรูปแบบของผงละเอียด กระบวนการผลิตก็แตกต่างกันอีกด้วยอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น นอกจากนี้ข้อแตกต่างสำคัญเลยก็คือรสชาติ กลิ่น และเนื้อสัมผัส ชาเขียวจะเป็นน้ำใสๆ มีรสชาติฝาดไปจนถึงขม สีอาจจะเป็นเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวเข้ม ส่วนมัทฉะมีลักษณะของน้ำที่ออกเป็นครีมเข้มข้น สีเขียวสว่าง มีรสชาติหวานกว่า อีกทั้งยังสามารถเอาไปทำขนม หรือไอศกรีมได้อีกด้วย ในขณะที่ชาเขียว (ชาใบ) สามารถใช้ชงเครื่องดื่มได้ แต่ไม่เหมาะที่จะไปทำขนมหรือไอศกรีมแต่อย่างใด
ต้นกำเนิด
ต้นกำเนิดของมัทฉะต้องย้อนกลับไปที่ประเทศจีนในช่วงราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ชาวจีนในยุคนั้นจะนำใบชามานึ่งแล้วปั้นเป็นก้อนอิฐเพื่อความสะดวกในการขนส่งและค้าขาย จากนั้นนำก้อนชาเหล่านี้มาบดเป็นผงแล้วผสมกับน้ำร้อน การบริโภคชารูปแบบนี้ได้แพร่ไปยังประเทศญี่ปุ่นโดยพระสงฆ์ชื่อเออิไซ (Eisai) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ซึ่งชาชนิดนี้ถูกใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาในอารามทางพุทธศาสนาและใช้เพื่อการรักษาโรค นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มเพื่อสุขภาพกันมากขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในญี่ปุ่นนั้นการเพาะปลูกและการบริโภคชาผงนั้นเฟื่องฟูอย่างแท้จริง ในที่สุดก็พัฒนาเป็นรูปแบบพิเศษที่เรียกว่ามัทฉะ ชาวญี่ปุ่นเริ่มปลูกต้นชาในที่ร่มเพื่อเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ ซึ่งทำให้ผงชาที่ได้มีสีเขียวสดใสและมีรสชาติเฉพาะตัว วิธีการปลูกนี้ยังช่วยเพิ่มระดับของสารอาหารบางชนิดในชา รวมทั้งแอล-ธีอะนีนและคาเฟอีน
ในศตวรรษที่ 16 ปรมาจารย์ด้านชาชื่อ Sen no Rikyu ได้กำหนดวิธีการทำและเสิร์ฟมัทฉะตามแบบพิธีการ ซึ่งสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นและยังคงปฏิบัติตามมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้เขายังมีบทบาทสำคัญในการทำให้มัทฉะเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นซามูไรของญี่ปุ่นอีกดวย
เมื่อเวลาผ่านไป มัทฉะกลายเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมและประเพณีของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านพิธีชงชาที่เรียกว่า "ชาโนยุ (Chanoyu)" หรือวิถีแห่งชา พิธีนี้เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ความเคารพ ความบริสุทธิ์ และความเงียบสงบ มีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนา ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนักบวชเออิไซ (Eisai) และในขณะที่ชงชานั้นก็ได้ผสมผสานจิตวิญญาณของพุทธศาสนานิกายเซนไปด้วย
ในสมัยยุคเมจิ การผลิตชามีมากขึ้น มีหนังสือเทคนิคการผลิตต่าง ๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย เริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต และเริ่มมีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศแล้ว และปริมาณการส่งออกยังมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีนอีกด้วย แม้การส่งออกจะกระท่อนกระแท่นไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะตอนนั้นชาดำเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ แต่ไม่นานในศตวรรษที่ 20 ชาเขียวก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งประเทศญี่ปุ่นและ แพร่หลายออกมาทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
และแม้ว่ามัทฉะจะเลิกได้รับความนิยมในจีนและนิยมนำไปชงเป็นชาใบหลวมแทน แต่ก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมญี่ปุ่นและเริ่มได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลกในศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันมัทฉะได้รับความนิยมไม่เพียงแค่รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งอีกด้วย
นานาประโยชน์ของชาเขียวมัทฉะ
ชาเขียวมีประโยชน์คล้ายกับมัทฉะ ซึ่งมีโปรตีน L-theanine ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย, catechins ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง และมีคาเฟอีนบางส่วน
ประโยชน์ของชาเขียวมัทฉะ
-
ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว เครื่องดื่มจากชาเขียวมีปริมาณ Caffeine ที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ยิ่งมาจากผงชาเขียวมัทฉะก็ยิ่งเข้มข้นสูงขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นประโยชน์แรกของชาเขียวมัทฉะคือการทำให้คนที่กินเข้าไปตื่นตัว รู้สึกสดชื่น ก่อนจะได้รับความผ่อนคลายจากสาร L–theanine ที่เข้ามาจัดการความเครียดและความอ่อนเพลียของร่างกายด้วยนะ ถ้าเราดื่มชาเขียวมัทฉะในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เกิน 2 แก้ว/วัน ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างที่กล่าวไป
-
ดีต่อหัวใจและและหลอดเลือด เมื่อสมองไม่เครียด รู้สึกผ่อนคลาย มันก็ย่อมดีต่อใจด้วย อีกทั้งสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญที่อยู่ใน Caffeine อย่าง Theophylline จะช่วยให้ต่อมหมวกไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับฮอรโมนร่างกายให้สมดุล และดีต่อหลอดเลือดแบบสุด ๆ เพราะว่าจะช่วยลดละดับ Triglyceride กับ Cholesterol ที่เป็นความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
-
ป้องกันโรคหวัด เคยได้ยินคนพูดว่าเราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยชาเขียวมัทฉะมั้ย สาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า Vitamin C ในชาเขียวมัทฉะยังไงล่ะ ไม่ใช่แค่นั้น สารอย่าง Polyphenols , L-Theanin , Catechins อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีโพลีฟีนอล คาเทชิน และแอลธีอะนีน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และลดการก่อเกิดของเซลล์มะเร็ง
-
ดีต่อระบบประสาทและสมอง เป็นเพราะว่ามี Vitamin B รวม การดื่มชาเขียวมัทฉะเลยช่วยบำรุงประสาทและสมองของเราด้วย และแน่นอนว่ากรดอะมิโนก็ช่วยลดความวิตกกังวลพร้อมกระตุ้นคลื่นอัลฟาในสมอง ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสุด ๆ ไปเลย
-
ดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องระวังน้ำตาลอย่างมาก ชาเขียวมัทฉะเป็นผู้ช่วยที่ดีที่สุดตัวหนึ่งเลยล่ะ นั้นเพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระตัวที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล Glucose ในเลือด ช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมน Insulin ในตับอ่อนและช่วยดูดซึม Glucose
-
ชะลอความแก่ ใครก็ทักว่าดูเด็กลงนะเมื่อดื่มฉาเขียวมัทฉะ จริง ! อย่างแรกเลยชาเขียวมีสาร Catechins ช่วยป้องกันไม่ให้ผมร่วง ไม่พอ ยังมีสาร EGEG (Epigallocatechin Gallate) เร่งให้ผมงอกเร็วขึ้นอีก แล้วถ้าว่ากันด้วยผิวที่ดูเต่งตึง สาร Polyphenols กับ OPC (Oligomeric Proanthocyanidins) จะช่วยปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ ป้องกันริ้วรอยและจุดด่างดำ
-
ดีต่อช่องปาก อย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่าชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มคาเทชินที่ชื่อ EGEG (Epigallocatechin Gallate) แต่รู้อะไรมั้ย คุณประโยชน์ของสารตัวนี้คือส่งผลดีต่อสุขภาพปากด้วย ทั้งชะลอการเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก สาเหตุของคราบพลัคสะสมที่ทำให้ฟันผุ แล้วยังช่วยลดการสะสมของสารประกอบซัลเฟอร์ในช่องปากที่เป็นตัวร้ายทำให้เกิดกลิ่นปากด้วย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมัทฉะทำมาจากใบชาเต็มใบ จึงมี L-theanine, catechins และคาเฟอีนมากกว่า หากต้องการเลือกชาตามประโยชน์ที่มี มัทฉะจะเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ มัทฉะมีวิตามิน, แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่เทียบเท่ากับชาเขียวที่ชง 10 ถ้วย รวมถึงไฟเบอร์ในปริมาณที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ 1 ถ้วยของมัทฉะจึงมี L-theanine ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากกว่าชาเขียวถึง 10 เท่า หากต้องการเพิ่มพลังงานที่ทำให้ตื่นตัว แต่ไม่ทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย มัทฉะคือตัวเลือกที่ดี
Social Media
Facebook : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society
แหล่งที่มา