รู้จัก “Water Footprint” คิดสักนิด ก่อนใช้น้ำ

วันที่เผยแพร่: 
Wed 3 February 2021

ในอดีตทรัพยากรน้ำจัดเป็นสินค้าไร้ราคา (Free-goods) ไม่มีต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์ แต่ปัจจุบันนี้ น้ำกำลังกลายเป็นทรัพยากรที่อาจขาดแคลนในอนาคต
เพราะหลายประเทศเสี่ยงภัยแล้ง และประชากรโลกเพิ่มขึ้นทบเท่าทวี จะจัดการอย่างไรให้มีน้ำเพียงพอแก่ทุกภาคส่วน และดำเนินไปอย่างยั่งยืน?
ร่องรอยการใช้น้ำ (Water Footprint) คือ เครื่องมือทางสิ่งแวดล้อมในการคำนวณปริมาณการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค
รวมถึงการบัดบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ร่องรอยการใช้น้ำเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2002 ในเนเธอร์แลนด์ และได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

ร่องรอยกายใช้น้ำมี 3 ลักษณะ
(1) ร่องรอยการใช้น้ำของภาคธุรกิจ (Business Water footprint) น้ำเป็นทรัพยากรสำคัญในธุรกิจทุกสาขา ทั้งด้านอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม และอื่น ๆ
การวัดปริมาณการใช้น้ำระบบ ตั้งแต่การผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมและการบริการ ได้แก่ กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ เทคโนโลยีสารสนเทศ
การกระจายสินค้า และการขนส่ง เรียกได้ว่าเป็นการบริหารการจัดการน้ำในเชิงพาณิชย์

(2) ร่องรอยการใช้น้ำของผลิตภัณฑ์ (Product water footprint) นั่นคือปริมาณของสินค้าหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ปัจจัยการผลิต การผลิตสินค้า จนถึงกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
จากขั้นตอนการผลิต โดยอาศัยการวัดปริมาตรและแหล่งน้ำในการผลิต และปริมาตรน้ำที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ยกตัวอย่าง เช่น กางเกงยีนส์ 1 ตัว ได้จากฝ้าย
ฝ้ายมีการเจริญเติบโต การเก็บผลผลิต การทอเส้นใย การตัดเย็บ การฟอกสี และผลิตเป็นกางเกงยีนส์ 1 ตัว ในทุกขั้นตอน มีร่องร่อยการใช้น้ำทางตรงและทางอ้อม

(3) ร่องรอยการใช้น้ำของบุคคล (Personal Water Footprint) ได้แก่ปริมาณการใช้น้ำของปัจเจกบุคคลในชีวิตประจำวัน เช่น อาบน้ำ ล้างจาน รวมถึงการใช้น้ำ
ที่แฝงในผลิตภัณฑ์และการบำบัดน้ำเสีย

ประโยชน์ของร่องรอยการใช้น้ำ นับเป็นเครื่องมือสะท้อนการใช้น้ำ เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนเห็นพฤติกรรมการใช้น้ำต่อระบบน้ำจืดทั่วโลก และเป็นกลไกสำคัญ
ให้รัฐบาลบริหารจัดการน้ำและอนุรักษ์น้ำด้วยวิธีการต่าง ๆ ร่วมกับทุกภาคส่วน ความเข้าใจที่มาที่ไปของการใช้น้ำอำนวยให้เราจัดเตรียมแนวทางการ
แก้ปัญหาเพื่อสู้วิกฤตการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืน

ที่มา https://www.nsm.or.th/other-service/668-online-science/knowledge-invento...

ผู้เขียน ศิรประภา ศรีสุพรรณ

ที่มาภาพ
World Water Development Report 4. World Water Assessment Programme (WWAP), March 2012

เอกสารอ้างอิง
พิชญาภา ราชธรรมมา. สรร สาระ. การใช้น้ำอย่างคุ้มค่ากับ Water footprint. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 60. ฉบับที่ 189
Hoekstra, A. Y., & Chapagain, A. K. (2006). Water footprints of nations: Water use by people as a function of their consumption pattern.
Integrated Assessment of Water Resources and Global Change, 35–48. doi:10.1007/978-1-4020-5591-1_3
Mangmeechai, A., & Pavasant, P. (2013). Water footprints of Cassava-and Molasses-based ethanol production in Thailand.
Natural resources research, 22(4), 273-282.

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E2%80%9Cwater-footprint%E2%80%9D-%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3
Hits 496 ครั้ง