รู้หรือไม่ "นอนกรน" เสี่ยงเกิดโลกไหลตาย

วันที่เผยแพร่: 
Fri 1 April 2022

   รู้หรือไม่นอนกรนเสี่ยงเกิดโรคใหลตาย โดยโรคนี้เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ และอีกหนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคนี้คือ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ” ที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน

โรคใหลตายคืออะไร?
นอนใหลตาย ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า “กลุ่มอาการบรูกาดา” (Brugada Syndrome) อาการใหลตาย เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะอย่างกะทันหัน ทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันรวดเร็วเพราะเกิดเป็น ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

อาการใหลตาย เป็นอย่างไร?
ผู้ที่มีอาการใหลตายจะไม่มีทางได้ทราบว่าตนเองมีอาการนี้ เนื่องจากเสียชีวิตไปขณะหลับ โรคใหลตาย มักเป็นการเสียชีวิตอย่างฉับพลันในช่วงเวลากลางคืน ญาติหรือคนใกล้ชิดจึงไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ทัน

การนอนกรนเกี่ยวข้องกับนอนใหลตายอย่างไร?
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมกับอาการนอนกรนไม่สามารถหายใจได้อย่างเต็มปอด ทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ

อาการนอนกรนชนิดรุนแรง หรือมีอาการหยุดหายใจขณะหลับ มีผลทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการสะดุ้งเฮือกและตื่นขึ้นมาระหว่างนอนหลับ เมื่อหัวใจต้องทำงานหนักทุกคืนเป็นเวลานาน อาจมีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือใหลตายได้

วิธีรักษานอนกรนก่อนนำไปสู่โรคนอนใหลตาย ซึ่งแนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง
ทางคลินิกมีวิธีการรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัดโดยหลักๆ 4 วิธี

1.เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance): แพทย์หลายท่านแนะนำอุปกรณ์รักษาการนอนกรนชิ้นนี้ เพราะสามารถลดอาการกรนได้จริงและมีขั้นตอนในการรักษาที่ไม่ยุ่งยาก ทั้งนี้ หากเลือกรักษากับทาง Vital Sleep Clinic ท่านจะสามารถมั่นใจได้ว่า อุปกรณ์มีความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน เพราะอุปกรณ์ผลิตจากห้องแลปของทางคลินิก ที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง American Board of Dental Sleep Medicine

2.ครื่องช่วยหายใจ CPAP: แพทย์หลายๆ ท่านแนะนำให้แก้โรคนอนกรนด้วยวิธีนี้เพราะ สามารถลดอาการกรนได้จริง และตื่นเช้าในวันถัดมาด้วยความสดชื่นจากการได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในขณะที่หลับอยู่ แต่ทั้งนี้ คนไข้บางรายที่จำเป็นต้องเดินทางบ่อยๆ อาจไม่สะดวกในการพกพา ในกรณีเช่นนี้ แพทย์จะแนะนำให้ใช้เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance) แทนเพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต

3.คลื่นความถี่วิทยุ RF: การแก้โรคนอนกรนด้วยวิธีนี้สามารถแก้ไขปัญหา “เสียงกรน” ที่มาจากการหย่อนคล้อยบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูกได้ดี วิธีนี้มีเพียงแค่แพทย์เฉพาะทางเท่านั้นที่เป็นผู้ทำการรักษาได้ (อ่านประวัติแพทย์เพิ่มเติม)

4.การฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy): เป็นนวัตกรรมการแก้นอนกรนที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ เพราะเป็นการแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ เช่น การวางตำแหน่งลิ้นให้ถูกต้อง หรือแม้แต่ช่วยฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง เพื่อลดการหย่อนคล้อยของอวัยวะภายในจนนำไปสู่ปัญหาอุดกั้นทางเดินหายใจ

 

แหล่งที่มา
https://www.vitalsleepclinic.com/sudden-unexplained-nocturnal-death-synd...

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2
เจ้าของข้อมูล: 
vitalsleepclinic
Hits 334 ครั้ง