วงปีไม้บอกภูมิอากาศในอดีต

วันที่เผยแพร่: 
Tue 28 June 2022

     วันนี้พบกับเรา STKC อีกเช่นเคย เชื่อว่าทุกคนต้องเคยสงสัยเกี่ยวกับลายตรงกลางของต้นไม้ ว่ามันคืออะไร ทำไมต้องเป็นลายอีกทั้งลายยังเป็นสีน้ำตาลเข้มและก็สีน้ำตาลอ่อน มีไว้บอกอะไรเราน้า? ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านบทความกันได้เลย...

วงปีของพืชที่ใช้ศึกษาภูมิอากาศในอดีต
     เส้นวงปีของต้นไม้ เกิดจากการเจริญของเนื้อเยื่อเจริญเพื่อสร้างท่อลำเลียงน้ำขึ้นมาใหม่ พร้อมปล่อยสารที่เรียกว่าลิกนินไปสะสมอยู่ในเนื้อไม้ ถ้าปีใดฝนตกซุกมีปริมาณน้ำฝนมาก เส้นวงปีจะกว้างเป็นสีน้ำตาลอ่อน ปีไหนแล้งปริมาณน้ำฝนน้อย เส้นวงปีจะแคบและมีสีน้ำตาลเข้มเพราะลิกนินมีความเข้มข้นสูง

     ดังนั้นไม้ที่เติบโตประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวแห้งก็จะทำให้มีเจริญเติบโตได้ช้ากว่าจึงทำให้ไม้มีความหนาแน่นกว่า เช่น ต้นไม้ประเภทไม้สนที่เติบโตในประเทศโซนร้อนก็จะเป็นไม้สนที่โตเร็ว มีความหนาแน่นที่ตำกว่า ขณะที่ไม้สนโตในประเทศเขตหนาวจัด เช่น แถบสแกนดิเนเวียหรือแถบรัสเซียก็จะเป็นไม้ที่เติบโตได้ช้าความหนาแน่นสูงกว่าจึงเหมาะที่จะมาใช้งานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคารต่างๆมากกว่า อย่างไรก็ตามความหนาแน่นของไม้จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับของสายพันธ์ไม้อีกด้วยว่าเป็นอย่างไร

     ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟล เอ็มขั้นที่ 2 จำนวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและธาตุอาหาร ในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี เช่น ฤดูฝน เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทำให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง และมีสีจางในฤดูแล้ง เซลล์ชั้นในไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทำให้เห็นแถบแคบๆและมีสีเข้มลักษณะดังกล่าวทำให้เห็นเนื้อไม้มีสีจางและเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า วงปี

     วงปีไม้จึงเป็นหลักฐานหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์และทำการศึกษากันอย่างกว้าง ขวางในประเทศต่าง ๆ แล้วว่ามีศักยภาพ ในประเทศไทยเพิ่งมีการศึกษากันอย่างจริงจังและต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 และพบว่าต้นไม้ที่มีศักยภาพในการศึกษาข้อมูลตัวแทน ของวงปีไม้นั้น ได้แก่ ไม้สักและไม้สนสองใบ เป็นต้น 

เผยแพร่ : ณภัทร โพธิ์อยู่
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ(พร.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Facebook : @stkcsociety                          
Youtube chanel : STKC Society Official

แหล่งที่มา
https://www.scimath.org/article-biology/item/12476-2021-10-19-04-20-49

 

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95
Hits 1,160 ครั้ง