วิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5

วันที่เผยแพร่: 
Fri 8 February 2019

กรมควบคุมมลพิษแจ้งเตือนค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐานเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวของประชาชนจำนวนมากเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ โดยฝุ่นละออง PM 2.5 ตามข่าวนั้นเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กและไม่สามารถมองเห็นได้
ด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (ไมโครเมตร) หรือเล็กกว่าเส้นผมคนเราถึง 20 เท่าเลยทีเดียว

โดยปกติในเมืองใหญ่ ๆ จะมีฝุ่นชนิดนี้อยู่แล้วในระดับที่ยอมรับได้ แต่เหตุการณ์ที่ทำให้ภาครัฐต้องออกมาเตือนประชาชนเนื่องมาจากมีการสะสมของฝุ่น PM 2.5
เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งกรมควบคุมมลพิษ กำหนดไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร มีสาเหตุหลักมาจากควันเสียของรถยนต์โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล
โรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง รวมถึงสภาพอากาศในช่วงนี้มีลักษณะแบบอากาศนิ่งและสภาพอากาศปิด ทำให้ฝุ่นละอองในอากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้น
ทำให้มีการสะสมเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ

pm2 5 2

ด้วยอนุภาคของฝุ่นละอองที่มีขนาดที่เล็ก ทำให้เมื่อเราหายใจเข้าไปจะส่งผลให้เกิดการระคายเคือง ไอ จามหรือมีเสมหะ ฝุ่นละออง PM 2.5 นี้สามารถผ่านเข้าไป
จนถึงส่วนในสุดของปอดซึ่งจะมีผลกระทบต่อหลอดลมฝอยและถุงลม สามารถผ่านผนังถุงลมเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายตัวไปทั่วร่างกายของเรา ส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพในหลายๆด้าน อีกทั้งยังเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด ภาวะหลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดสมองตีบและหัวใจ
เต้นผิดจังหวะ

การป้องกันที่เราสามารถทำได้คือ การลดกิจกรรมที่อยู่นอกตัวอาคารในช่วงเวลาที่มีระดับของฝุ่นละอองอยู่ในปริมาณที่สูง แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินทางไป
ในบริเวณที่มีความเสี่ยงควรใส่อุปกรณ์ป้องกันที่ได้มาตรฐานและต้องมีความละเอียดของเส้นใยสูงพอที่จะกรองฝุ่นเล็กขนาด 2.5 ไมครอนโดยการใส่หน้ากาก
อนามัย N95 ซึ่งหน้ากากชนิดนี้ต่างจากหน้ากากอนามัยที่ไปใช้กันทั่วไป เนื่องจากสามารถป้องกันฝุ่นขนาด 0.1-0.3 ไมครอน ได้ 95% การสวมใส่จำเป็นต้อง
คำนึงถึงขั้นตอนการใส่ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและไม่ควรใส่นานเกินไปเพราะอาจส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพออีกด้วย

แหล่งข้อมูล :
https://www.bbc.com/thai/thailand-46643980
http://www.pcd.go.th/Public/News/GetNewsThai.cfm?task=lt2019&id=18542
https://www.honestdocs.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87-pm-25
Hits 444 ครั้ง