สายชาร์จดูดข้อมูล ทำงานยังไง ทำไมถึงน่ากลัว

วันที่เผยแพร่: 
Tue 17 January 2023

                 ในปัจจุบันกลโกงของมิจฉาชีพมาในหลายรูปแบบ อาจทำให้หลายคนต้องระมัดระวังตัวมากขึ้นเพราะข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในสมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถืออาจโดนแฮกจากการเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่โดยไม่คาคคิด รวมถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต WiFi ตามสถานที่ต่างๆ ก็มีข่าวออกมาว่าอาจเป็นอันตรายเช่นกัน
ล่าสุด ตำรวจสอบสวนกลาง ได้ออกมาแจ้งเตือนภัยประชาชน เสียบสายชาร์จไม่ระวัง เสี่ยงถูกแฮกข้อมูลไม่รู้ตัว 

             สายชาร์จประเภทนี้ที่สำคัญที่สุดคือสาย O.MG ที่ได้รับการพัฒนาโดย ไมค์ โกรเวอร์ (Mike Grover) หรือนามแฝงคือ MG ที่มีการฝังอุปกรณ์ที่สามารถสร้างฮอตสปอตกระจายสัญญาณไวไฟ (WiFi Hotspot) จะช่วยให้แฮกเกอร์สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของตัวเองเพื่อดักจับข้อมูลทุกอย่างที่เหยื่อพิมพ์ลงบนอุปกรณ์ที่เชื่อมกับสายชาร์จนั้นได้ ซึ่งเป็นการทำงานเหมือนกับ Keylogger หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูล  โดยข้อมูลที่ดักเก็บมาได้จากสายชาร์จจะไปปรากฎอยู่ในหน้าจออุปกรณ์ของอาชญากรแบบเรียลไทม์

            อย่างไรก็ดี แม้ว่า MG จะระบุว่าสายชนิดนี้สามารถใช้แฮกจากระยะไกลได้ แต่ในการทดสอบของเว็บไซต์ Motherboard นั้นพบว่าผู้ที่จะแฮกอุปกรณ์ของเหยื่อผ่านสายชาร์จ O.MG จะต้องอยู่ในระยะไม่ไกลจากเป้าหมาย ทั้งนี้ ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีความเป็นไปได้เลยที่จะไม่สามารถโจมตีระยะไกลได้ เนื่องจาก อย่างที่ระบุไปก่อนหน้าว่าสาย O.MG เป็นตัวอย่างของสายประเภทนี้เท่านั้น ยังมีความเป็นไปได้ว่ามีสายอีกมากที่อาจจะมีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่านี้ 

            ซึ่งหากสายประเภทนี้คือสายที่เหยื่อที่ปรากฎอยู่ในข่าวใช้จริง ก็อาจเป็นไปได้ว่าแฮกเกอร์อาจเก็บข้อมูลรหัสผ่านของแอปธนาคาร จากนั้นรอเวลาที่เหยื่อไม่ได้ใช้เครื่อง เพื่อล็อกอินเข้าไปยังแอปธนาคารไปโอนเงินของเหยื่อออกไปยังบัญชีของตัวเองในที่สุด แต่มีข้อแม้ว่าผู้ก่อเหตุจะต้องอยู่ในระยะที่ใกล้กับเหยื่อนั้นเอง

สำหรับวิธีป้องกันที่ง่ายกว่า คือการไม่ใช้สายชาร์จของคนอื่น ใช้อะแดปเตอร์ของตัวเองเท่านั้น หรือพกแบตเตอรี่สำรองติดตัวเสมอ ควรหลีกเลี่ยงการใปชาร์จในที่สาธารณะ หากจำเป็นต้องชาร์จในที่สาธารณะควรเลือกชาร์จเฉพาะต่อกับเต้าเสียบเท่านั้น ไม่ควรเสียบชาร์จกับพอร์ต USB

 

เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety

แหล่งที่มา
https://www.pptvhd36.com/
https://www.beartai.com/

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7
Hits 361 ครั้ง