หิ่งห้อย มีแสงได้อย่างไร?

วันที่เผยแพร่: 
Tue 11 July 2023

     เชื่อว่าคงมีไม่กี่คนที่เคยได้เห็นและสัมผัสหิ่งห้อยตัวเป็นๆ ด้วยสภาพเมืองที่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ธรรมชาติถูกทำลายไปมาก หิ่งห้อยซึ่งค่อนข้างอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมก็ลดจำนวนลงอย่างมาก ในยามค่ำคืนเคยสงสัยกันไหมว่า หิ่งห้อยเรืองแสงได้อย่างไร ทำไมต้องเรืองแสง ดูจะเป็นคำถามยอดฮิต และมักจะเป็นคำถามลำดับต้นๆ สำหรับเด็กๆ และผู้ใหญ่หลายคน เราจะได้มาค้นพบคำตอบที่ว่านี้ในบทความครั้งนี้กันครับ

หิ่งห้อยเรืองแสงได้อย่างไร?
แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยเป็นแสงที่ไม่มีความร้อน เราเรียกแสงที่เกิดขึ้นโดยปราศจากความร้อนว่า แสงนวล (Luminescence) แสงในตัว หิ่งห้อยเกิดจากสารลูซิเฟอริน (Luciferin) ซึ่งจะรวมตัวกับออกซิเจนในขณะที่เกิดปฏิกิริยาแสงสว่าง แต่ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสารลูซิเฟอเรส (Luciferase) อยู่ด้วย ลูซิเฟอเรสทำหน้าที่เป็นตัวช่วย(catalyst) ให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นเท่านั้นปริมาณแสงสว่างที่เกิดจากหิ่งห้อยมีน้อยมาก คือ เพียงประมาณ 1 ใน 1,000 ของแสงสว่างจากเทียนไขธรรมดา เราสามารถประดิษฐ์แสงแบบนี้ได้ในห้องทดลอง แต่สารทั้งสองคือ ลูซิเฟอริน และลูซิเฟอเรส ต้องได้มาจากตัวหิ่งห้อยโดยตรง เพราะนักเคมียังไม่สามารถสังเคราะห์สารทั้งสองนี้ได้

แหล่งที่มา
https://www.scimath.org/article-biology/item/314-firefly
 

เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
instagram : stkcsociety

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3
Hits 699 ครั้ง