อยากของหวาน ทั้งวัน อันตรายไหม!

วันที่เผยแพร่: 
Mon 20 June 2022

   ช่วงนี้ร้านของหวาน เกิดขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นร้านแนวคาเฟ่ ร้านขนมปังหวาน ร้านไอศครีม  เห็นแล้วก็อยากทานไปหมดทุกอย่าง หันไปทางไหนก็ของหวาน มันคืออาการ อยากของหวาน ( Sugar Craving ) แต่ อยากของหวาน ทั้งวัน จะ อันตรายไหม และโทษต่อร่างกายยังไงบ้าง วันนี้ทาง STKC มีบทความเกี่ยวกับของหวานถ้าเรารับประทานทั้งวันเป้นอันตรายหรือ ไปอ่านกันได้เลย

อาการอยาก “ ของหวาน ”
   จะมีอาการอยากกินของหวาน ๆ ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้กินจะเริ่มรู้สึกโหย ๆ หงุดหงิด อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อาการแบบนี้เกิดจาก การเสพติดน้ำตาลที่เรียกว่า “ Sugar Blues ” ที่ทำให้ร่างกายรู้สึก โหยหานํ้าตาลทั้งวัน โดยเฉพาะช่วงเวลา ประมาณสิบโมงเช้า และบ่ายสามโมง ถ้าไม่ได้กินน้ำตาลจะทำให้หดหู่  ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะเกิดจาก ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่า แล้วถ้ายังปล่อยให้ร่างกาย เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะยิ่งส่งผลเสียกับร่างกาย ทำให้อารมณ์แปรปรวน ขี้โมโหง่าย สมาธิสั้น ( ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder ) เป็นภูมิแพ้ ( Allergy ) และความดันโลหิตตํ่า ( Hypotension ) 
   ยิ่งถ้าได้รับน้ำตาล เข้าสู่กระแสเลือดมาก ๆ จะไปเก็บสะสมไว้ที่ ตับในรูปของ ไกลโคเจน ( Glycogen ) และจะส่งกลับไป ที่กระแสเลือดอีกครั้ง สุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน ไปสะสมตามจุดต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพก มากเข้าก็ทำให้น้ำหนักเกิน ถ้ายังไม่ยอมเลิกกินของหวาน ๆ ก็จะทำให้กรดไขมัน ไปพอกพูนที่ หัวใจ ตับ ไต ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมลงเรื่อย ๆ และตามมาด้วย โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

วิธีลดอาการอยาก ของหวาน

1. กินผักที่มีรสหวานเป็นประจำ เช่น หัวหอม แครอท ฟักทอง มันหวาน แม้กระทั่งหัวไชเท้า เมื่อต้มในน้ำซุปยังมีรสหวาน การกินผักที่มีรสหวานเป็นประจำจะช่วยลดความอยากของหวานได้
2. พิจารณาปริมาณเนื้อสัตว์ที่ทานอยู่เป็นประจำ การทานเนื้อสัตว์มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ทำให้เกิดการอยากของหวานได้ หมั่นสังเกต และปรับหาปริมาณที่สมดุล
3. ควรเลิกกินผลิตภัณฑ์จำพวกปราศจากไขมัน หรือ ไขมันต่ำ เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักมีปริมาณน้ำตาลสูง เพื่อทดแทนรสชาติ และ ไขมันที่หายไป
4. ลดการปรุงหรือเติมนํ้าตาลในอาหาร อาจใช้สารให้ความหวานทดแทน (หญ้าหวาน, น้ำตาลเทียม) ในปริมาณที่เหมาะสม
5. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม รวมถึงน้ำผลไม้ แนะนำให้ดื่มนํ้าเปล่าจะดีที่สุด
6. เลือกผลไม้ที่มีรสหวานน้อย และจำกัดปริมาณการกินให้เหมาะสมในแต่ละวัน (เลี่ยงผล ไม้แปรรูป เช่น แช่อิ่มหรือดอง)
7. เพิ่มการรับประทานผักใบเขียวให้มากขึ้น จะช่วยชะลอการดูดซึมนํ้าตาล ทำให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
8. หมั่นสังเกตปริมาณน้ำตาลจากฉลากที่อยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังของผลิตภัณฑ์อาหาร

   เป็นยังไงกันบ้าง เรื่องของการเสพติดน้ำตาล เป็นเรื่องที่ต้องระวังให้มากกันเลย เพราะก่อให้เกิดผู้ป่วยจำนวนมาก และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ใครที่ยังเสพติดความหวานอยู่ ก็ควรลด ละ เลิก ด้วยวิธีการที่เราแนะนำมา จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายในอนาคตได้แบบไม่น่าเชื่อ

เรียบเรียง : ณภัทร โพธิ์อยู่
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ(พร.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Facebook : @stkcsociety                          
Youtube chanel : STKC Society Official
 

แหล่งที่มา
https://mw-wellness.com/health/8868

Hits 539 ครั้ง