อวสานอาหารดิบ โรคไข้หูดับ

วันที่เผยแพร่: 
Mon 30 October 2023

       ในทุก ๆ ปีเราจะเห็นข่าวว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคไข้หูดับ หรือโรค Streptococcus suis ซึ่งโรคไข้หูดับก็เป็นโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีความรุนแรงตั้งแต่เป็นไข้ ท้องร่วง คอแข็ง ปวดศีรษะรุนแรง หลอดเลือดอักเสบ เสียชีวิต หรือหากรอดชีวิตมาได้ อาจกลายเป็นคนพิการ หูหนวก หรือเป็นอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งจุดเริ่มต้นของอาการเหล่านี้ก็มาจากพฤติกรรมบริโภคอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ไม่สุก 100% บทความนี้จะพาไปดรู้จักโรคไข้หูดับมากยิ่งขึ้น
      โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อได้ 2 ทาง
1. เกิดจากการบริโภคเนื้อและเลือดหมูที่ไม่ผ่านการทำให้สุก เช่น ลาบ ลู่ ปิ้งย่าง 
2.การสัมผัสเนื้อหมูที่มีเชื้อโดยตรง จากทางบาดแผล เยื่อบุตา และสัมผัสสารคัดหลั่งของหมู

อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะมีอาการ ดังนี้
-มีไข้สูง
- ปวดเมื่อยตามตัว
- ปวดศีรษะ
- เวียนศีรษะ
- ปวดตามข้อ
- อาเจียน
- การได้ยินลดลง
- หูหนวก
- ถ้าเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดก็จะเสียชีวิต

การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมู ดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ หรือหมูที่ป่วยหรือตายจากโรค
- สายปิ้งย่างหรือชาบูควรมีอุปกรณ์แยกในการคีบชิ้นเนื้อดิบ 
- ผู้ปรุงอาหาร ผู้เลี้ยง และผู้ชำแหละหมูที่มีบาดแผล ต้องปิดแผลและสวมถุงมือทุกครั้งขณะสัมผัสเนื้อหมู หากสัมผัสต้องล้างมือ ล้างเท้า และล้างตัวให้สะอาด
- ผู้บริโภคควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดสดหรือโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ และ -ควรทำให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป

แหล่งที่มา
https://www.praram9.com/streptococcussuis/
https://www.synphaet.co.th/มารู้จักกับ-โรคหูดับ/
https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/อายุรกรรม/โรคไข้หูดับ-ความเสี่ยงที่อันตรายถึงชีวิต

เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
instagram : stkcsociety

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9A-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A
Hits 749 ครั้ง