เปิดภารกิจอาร์ทิมิส 1 ก้าวแรกสู่การหวนคืนดวงจันทร์ของมนุษยชาติ

วันที่เผยแพร่: 
Tue 30 August 2022

       ในวันจันทร์ที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา NASA ได้สร้างจรวดรุ่นใหม่ในระบบปล่อยตัวสู่อวกาศ (Space Launch System – SLS) ขององค์การนาซา จะนำยานโอไรออน (Orion capsule) ออกจากวงโคจรโลก ก่อนพุ่งทะยานไปบินทดสอบวนรอบดวงจันทร์ เพื่อเตรียมนำมนุษย์อวกาศกลับไปเหยียบที่นั่นอีกครั้ง ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า
       ภารกิจภายใต้ชื่อ “อาร์ทิมิส 1” (Artemis I ) เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของเส้นทางประวัติศาสตร์สายใหม่ ที่จะนำมนุษยชาติหวนคืนไปประทับรอยเท้าบนพื้นผิวดวงจันทร์อีกครั้ง หลังร้างลาไปนานถึงครึ่งศตวรรษ นับแต่ภารกิจอะพอลโล 17 เมื่อปี 1972 สิ้นสุดลง นอกจากจะเป็นภารกิจเพื่อการสำรวจอวกาศแล้ว โครงการอาร์ทิมิส 1, 2, และ 3 ยังเป็นภารกิจเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคมอเมริกัน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้หญิงและคนผิวสีเชื้อชาติต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทสำคัญในแวดวง STEM (วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, คณิตศาสตร์) ที่ผู้ชายผิวขาวครอบครองอยู่ในสัดส่วนที่สูงขึ้น

ภารกิจอาร์ทิมิส 1
       เป็นภารกิจแรกของอภิมหาโครงการ อาร์เทมิส ขององค์การนาซา วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการนำมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งจรวดที่ใช้เป็นพาหนะหลักในการเดินทางไปดวงจันทร์คือ จรวดเอสแอลเอส (SLS–Space Launch System) ซึ่งเป็นจรวดยักษ์รุ่นล่าสุดขององค์การนาซา และเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างกันมา ด้วยแรงขับสูงถึง 3,900 ตัน ทำให้จรวดเอสแอลเอสแบกของหนัก 130 ตันขึ้นไปโคจรรอบโลกที่วงโคจรใกล้โลกได้ และนำสัมภาระ 45 ตันไปถึงดวงจันทร์ได้
       หัวใจของภารกิจอาร์เทมิสคือ ยานโอไรอัน ซึ่งเป็นยานที่ลูกเรืออาศัย ยานโอไรอันก็เป็นยานอวกาศมีมนุษย์รุ่นใหม่ล่าสุดของนาซาเช่นกัน ดูเผินๆ มีลักษณะทรงกรวยคล้ายมอดูลสั่งการของยานอะพอลโล แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย จุลูกเรือได้มากที่สุด 4 คน
       จะใช้เวลาทั้งหมด 42 วัน จะเป็นการส่งยานอวกาศโดยมีมีลูกเรือสามนาย แต่ลูกเรือทั้งสามนี้ไม่ใช่มนุษย์ ผู้อยู่บนที่นั่งในยานโอไรอันคือหุ่นยนต์ ตัวหนึ่งสวมชุดอวกาศของจริงที่นักบินอวกาศตัวจริงจะใส่ขณะขึ้นจากโลกและกลับสู่โลก อีกสองตัวติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดรังสี โดยมีตัวหนึ่งสวมชุดป้องกันรังสีแอสโทรแรดด้วย ชุดแอสโทรแรดเป็นชุดที่มนุษย์อวกาศในอนาคตอาจต้องใส่เพื่อป้องกันรังสีคอสมิกซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์ที่อยู่ในอวกาศเป็นเวลานาน 
       วัตถุประสงค์หลักของภารกิจอาร์เทมิส 1 คือการทดสอบระบบต่างๆ ของยานโอไรอันและนี่จะเป็นการทดสอบสนามจริงครั้งแรกของจรวดเอสแอล
เอสด้วย อาร์เทมิส 1 เป็นเพียงก้าวแรกเล็กๆ ของโครงการเท่านั้น หากก้าวแรกนี้ประสบความสำเร็จ ก้าวต่อไปจึงจะเป็นการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์จริงๆ

เผยแพร่ : ณภัทร โพธิ์อยู่
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ(พร.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
Facebook : @stkcsociety
Youtube chanel : STKC Society Official

แหล่งที่มา
https://www.bbc.com/thai/international-62679439
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3534196

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AA-1-%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4
Hits 368 ครั้ง