เหตุใด เอวา-ลูน่า ถึงมีขนสีอ่อน ?

วันที่เผยแพร่: 
Fri 29 November 2024
 FYI  Today! ขอเสนอ ‘น้องเอวา - น้องลูน่า’ เสือโคร่งสีทองสุดน่ารักของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ที่ได้รับความรักจากผู้คนมากมาย 

ด้วยหน้าตาสุดน่าเอ็นดูชนะใจใครหลายคนจนตอนนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะมีแต่รูปของ ‘น้องเอวา - น้องลูน่า’ เต็มทุกพื้นที่โซเชียล เสือโคร่งสีทองที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมนุษย์นั้นน่าจะไร้ซึ่งปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิต ทั้งในเรื่องอาหารและสุขภาพที่น่าจะได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ แต่หากเสือโคร่งสีทองตัวหนึ่งปรากฏขึ้นในป่า ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านั่นเป็นสัญญาณน่ากังวลและไม่น่ายินดีสักเท่าไหร่ และเหตุการณ์ครั้งนั้นเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2024 ที่ผ่านมา แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่ได้พบกับสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษและหาได้ยากยิ่ง ทว่ามันก็มาพร้อมกับความน่าเศร้าใจด้วยเช่นกันที่ได้พบ โดยนักวิทยาศาสตร์เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเสือโคร่งสีทอง (Golden tiger) นั้นเป็น ‘แมวใหญ่ที่มียีนด้อย’ เป็นผลมาจากยีนส์ด้อยที่เรียกว่า การกลายพันธุ์แบบ “ยีนแถบกว้าง” ที่ทำให้ระยะการผลิตฟีโอเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีเหลืองแดง ในช่วงที่ขนเสือกำลังขึ้นนั้น ขยายกว้างออกไป จนทำให้ขนดูกลายเป็นสีขาว บางตัวแถบข้างก็จางจนแทบมองไม่เห็น มีอีกฉายาว่า “เสือไร้ลาย
 

น้องเอวา - น้องลูน่า ภาพโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ เพจเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี Chiang Mai Night Safari 

 

       "Luna" - Golden Tiger, Thailand by เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี Chiang Mai Night Safari 

"Ava" - Golden Tiger, Thailand by เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี Chiang Mai Night Safari  

เสือโคร่งสีทอง (Golden tiger) เกิดจากการผสมกันระหว่างเสือขาวกับเสือโคร่งเบงกอล ซึ่งเม็ดสีของเสือแบ่งออกเป็นยีน 2 ประเภท ดังนี้

        1) ยีนคุมสีขน โดยยีนส์เด่นขนจะเป็นสีส้ม ส่วนยีนด้อยขนจะมีสีขาว

        2) ยีนคุมสีลาย โดยยีนส์เด่นสีดำ ส่วนยีนด้อยนั้นจางจนแทบไม่เห็นลาย

The big cat is one of four "golden" tigers in Kaziranga, according to the park's official social media by Gaurav Ramnarayanan

          'พันธุกรรม' เป็นปัจจัยหลักและปัจจัยเดียว ในตอนแรกมันเกิดจากการกลายพันธุ์ในยีนที่เรียกว่า ‘ยีนอะกูติ’ (Agouti genes) ซึ่งทำให้การผลิตเม็ดสีเหลืองอมแดงของเสือเจือจางลงในระหว่างการเจริญเติบโตของขน และนั่นทำให้เสือสีขาวตอนแรกเริ่มที่แทบจะมองไม่เห็นลายทางของมัน มีการประเมินกันว่าเสือขาวจะเกิดขึ้นราว 1 ใน 10,000 ตัว แต่สำหรับเสือโคร่งสีทองนั้นหาได้ยากยิ่งกว่านั้น เนื่องจากต้องมีการแปรปรวนของยีนในระดับที่มากกว่าเดิม โดยขนสีเหลืองของเสือถูกควบคุมโดยยีนอะกูติชนิดหนึ่ง ในขณะที่ลายสีดำถูกควบคุมโดยยีนลายเสือและแอลลี (Allele) ของพวกมันเอง การยับยั้งยีนเหล่านี้ยีนใดยีนหนึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสีในเสือ โดยยีนอะกูติทำปฏิกิริยากับเซลล์เม็ดสีเพื่อสร้างสีจากสีเหลืองเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาลเป็นสีดำ ปฏิกิริยานี้ทำให้เกิดแถบสีอ่อนและสีเข้มที่แตกต่างกันในขนของสัตว์ ซึ่งเกิดขึ้นกับเสือโคร่งตัวเมีย “คาซิ Kazi 106-F” ในอุทยานแห่งชาติกาซีรังคา (Kaziranga National Park) เช่นกัน
 

       ชี้ให้เห็นว่าการผสมพันธุ์กันในสายเลือดเดียวกันมากเกินไปอาจเป็นเหตุผลทางชีววิทยาเบื้องหลังความคลาดเคลื่อนของสี ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่ายินดี และในประเทศไทยนั้นมีการเพาะพันธุ์น้องเอวาขึ้นมานั้น เป็นการแทรกแซงธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลเสมือน ดาบสองคม นั่นเอง

 

P.S. FYI – For Your Information

เผยแพร่ : ณาดาร์ หมื่นชล
(เจ้าหน้าที่พัฒนาและบริหารจัดการสารสนเทศ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

 

Social Media
Facebook : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society Official
แหล่งที่มา
New Indian Express
ภาพ
@chiangmainightsafarifanclub
Hits 1,133 ครั้ง