แบคทีเรียโคลิฟอร์ม ภัยอันตรายในน้ำใส

วันที่เผยแพร่: 
Fri 17 January 2025
 FYI Today!  น้ำสะอาดที่เห็นอาจไม่สะอาดอย่างที่คิด มักมีเชื้อโรคแฝงอยู่โดยมองตาเปล่าไม่เห็น 

 

ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 70% และถ้าขาดน้ำติดต่อกันเกิน 3 วัน อาจอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นมนุษย์ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อให้เพียงพอต่อร่างกาย และปรับสมดุลในร่างกายให้มีสุขภาพที่ดี และคุณภาพน้ำดื่มนั้นก็เป็นเรืองที่ละเลยไมไ่ด้ ต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอาหารการกิน และหากดื่มน้ำที่ไม่สะอาดมักมีผลเสียมากกว่าที่คิด โดยหนึ่งในเชื้อโรคที่พบได้บ่อยในน้ำดื่มที่ไม่สะอาดคือ “โคลิฟอร์มแบคทีเรีย” ซึ่งมักพบมากในแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำประปาที่ไม่ผ่านการบำบัดอย่างเหมาะสม เชื้อโรคตัวนี้จะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ รวมถึงสามารถป้องกันสารปนเปื้อนในน้ำดื่มได้อย่างไร

 บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับ“โคลิฟอร์มแบคทีเรีย” ที่ทำให้น้ำดื่มไม่สะอาดกันมากขึ้น พร้อมแนะนำวิธีการป้องกันด้วยวิธีต่าง ๆ ไปจนถึงการใช้เครื่องกรองน้ำฆ่าเชื้อโรค เพื่อให้มีน้ำสะอาดสำหรับใช้บริโภค 

โคลิฟอร์ม คืออะไร ?

โคลิฟอร์ม (Coliform Bacteria) เป็นกลุ่มแบคทีเรียแกรมลบที่พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในแหล่งน้ำ ดิน และลำไส้ของสัตว์เลือดอุ่นรวมถึงมนุษย์ แบคทีเรียเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจน แม้โคลิฟอร์มจะเป็นส่วนหนึ่งของจุลินทรีย์ปกติในร่างกาย แต่การพบในปริมาณมากในน้ำดื่มย่อมบ่งชี้ถึงการปนเปื้อนและความไม่สะอาด อีกทั้งโคลิฟอร์มยังเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินคุณภาพ ความปลอดภัย และสารปนเปื้อนในน้ำดื่ม

สาเหตุหลักที่ติดเชื้อโดยเกิดจากน้ำ

โรคติดเชื้อที่เกิดจากน้ำเกิดจากสาเหตุหลักสองประการ นั่นคือ 1. อันตรายจากสารเคมีและมลภาวะจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ระดับของสารเคมีที่เป็นอันตราย  ไนเตรทหรือโลหะหนักในน้ำที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอุตสาหกรรมหรือการใช้สารเคมีมากเกินไปในการเกษตรกรรม 2. อันตรายที่เกิดจากสารจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าทำให้น้ำปนเปื้อนด้วยเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และปรสิตต่างๆ อันเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยในมนุษย์ การปนเปื้อนในลักษณะนี้โดยมากมักเกิดจากการที่น้ำสัมผัสกับสัตว์ ขยะ หรือสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ อุจจาระหนักเพียงหนึ่งกรัมมีจุลินทรีย์สูงถึงแสนล้านตัว

โรคติดเชื้อที่เกิดจากน้ำ

โรคติดเชื้อที่เกิดจากน้ำมีมากมายหลายชนิด ตั้งแต่อาการท้องเสียและอหิวาตกโรค ไปจนถึงโปลิโอและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคดังกล่าวเป็นโรคร้ายแรงและอาจสร้างความยากลำบากให้กับผู้ติดเชื้ออย่างแสนสาหัส อย่างไรก็ดี การป้องกันโรคดังกล่าวสามารถกระทำได้เพียงผปฏิบัติตามขึ้นตอนเพื่อการปกป้องตนเองจากโรคติดเชื้อที่เกิดจากน้ำและความเจ็บป่วยอื่นๆ 

  • ท้องเสียและกระเพาะและลำไส้อักเสบ

  • ปวดท้องหรือปวดเกร็งบริเวณช่องท้อง

  • ไทฟอยด์

  • บิด

  • อหิวาตกโรค

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  • พยาธิกินี

  • ตับอักเสบ

  • โปลิโอ

วิธีการป้องกัน

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำที่อุปโภคและบริโภคเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากโคลนเลนหรือเม็ดทราย การขจัดสารปนเปื้อนที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทำได้ด้วยวิธีการกรอง

  • ดื่มน้ำที่สะอาดและปลอดภัย โดยเลือกดื่มเฉพาะน้ำที่ได้รับการกรองและฆ่าเชื้อด้วยอุปกรณ์หรือสารที่ทำให้น้ำบริสุทธิ์และไม่ดื่มน้ำที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโดยเด็ดขาด

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำที่กักเก็บไว้สะอาดและปลอดภัยสำหรับการใช้งาน

  • ในกรณีของน้ำที่กักเก็บไว้เพื่อใช้ชำระล้างร่างกายหรือสิ่งสกปรก คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อฆ่าเชื้อโรคผสมลงในน้ำเพื่อกำจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตราย

  • ฝึกสุขนิสัยในการมีมือที่สะอาดโดยล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ ก่อนการประกอบและรับประทานอาหาร

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารทุกชนิดที่จะรับประทานได้ผ่านการล้าง ทำความสะอาด และปรุงจนสุกทั่วดีแล้วเพื่อกำจัดแบคทีเรียและเชื้อโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันบรรดาโรคร้ายที่สามารถป้องกันได้

 

P.S. FYI – For Your Information

เผยแพร่ : ณาดาร์ หมื่นชล
(เจ้าหน้าที่พัฒนาและบริหารจัดการสารสนเทศ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society

แหล่งที่มา

สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย

เจ้าของข้อมูล: 
กรมอนามัย
Hits 716 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD: