ไมโคพลาสมา อันตรายกว่าที่คิด

วันที่เผยแพร่: 
Fri 3 January 2025

FYI Today! จะกล่าวถึงเชื้อที่กำลังจะกลับมาระบาดในประเทศไทย นั่นคือ ‘ไมโครพลาสมา (mycoplasma pneumoniae)’

        เชื้อไมโคพลาสมา (mycoplasma pneumoniae) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในธรรมชาติและสามารถติดจากคนสู่คน การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ มักจะทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่า เช่น หลอดลมอักเสบหรืออาการหวัด แต่อาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ 2-12% จากคนที่วินิจฉัยปอดบวมทั้งหมด ในช่วงที่มีการระบาดสัดส่วนของสาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อนี้จะมากขึ้น โรคนี้มีการระบาดเป็นช่วง ๆ โดยจะมีอาการไข้ หายใจเร็ว เจ็บคอ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย เจ็บคอ อาการไอจะเป็นจุดเด่นของการติดเชื้อไมโคพลาสมา บางคนจะมีอาการไอจนเจ็บหน้าอก หลอดลมอักเสบ ส่วนอาการอื่นที่เด่นของการติดเชื้อนอกจากนี้คืออาการนอกปอด เช่น เม็ดเลือดแดงแตก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ อาการทางระบบประสาทอื่น ๆ และผื่นผิวหนังอักเสบที่อาจรุนแรง และยังเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งทางสมองและหัวใจที่รุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้ โดยเชื้อชนิดนี้เป็นแบคทีเรียขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 0.2-1.0 ไมโครเมตร นอกจากนี้ยังสามารถก่อให้เกิดอาการนอกระบบทางเดินหายใจได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, สมองอักเสบ, ข้ออักเสบ เป็นต้น การติดเชื้อไมโครพลาสมาพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กวัยเรียนและผู้ใหญ่ โดยเชื้อมีการแพร่ระบาดตลอดทั้งปี ติดต่อผ่านทางละอองฝอยของการหายใจ ซึ่งอาจจะระบาดได้มากขึ้นในกลุ่มคนที่อยู่กันแออัด เช่น โรงเรียน และแพร่กระจายให้คนที่อยู่ในบ้านเดียวกันได้ง่ายมาก มีรายงานว่ามีคนที่เป็นพาหะของโรคนี้ได้ด้วย มีทั้งพาหะที่ไม่มีอาการ หรือพาหะที่ติดเชื้ออาการดีขึ้นแต่ยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่

        สำหรับประเทศไทย มีรายงานโรคปอดอักเสบจากเชื้อ Mycoplasma pneumoniae ตลอดทั้งปี และมักพบในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งเผ็นช่วงเวลาเดียวกับฤดูกาลระบาดของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น

การติดต่อ สามารถติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยผ่านการไอ จาม ระยะฟักตัว โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1 ถึง 4 สัปดาห์ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ในช่วงก่อนแสดงอาการถึงช่วงที่เริ่มมีอาการป่วย โดยเชื้อสามารถก่อให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้ เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีอาการไม่รุนแรง จึงไม่ทราบว่าติดเชื้อและแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น

การติดต่อ สามารถติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยผ่านการไอ จาม ระยะฟักตัว โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 1 ถึง 4 สัปดาห์ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ในช่วงก่อนแสดงอาการถึงช่วงที่เริ่มมีอาการป่วย โดยเชื้อสามารถก่อให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้ เนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีอาการไม่รุนแรง จึงไม่ทราบว่าติดเชื้อและแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น คนที่เป็นหอบหืดถ้าติดเชื้อ Mycoplasma pneumoniae จะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น บางรายมีการติดเชื้อนี้ร่วมกับโควิดได้ ซึ่งอาการจะรุนแรงขึ้นเช่นกัน

อาการที่แสดง และการวินิจฉัย เมื่อได้รับเชื้อจะทำให้เกิดอาการระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ได้แก่ ไอ อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หายใจเร็ว บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ ปอดอักเสบชนิดรุนแรง หรือ มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก เป็นต้น การวินิจฉัยทำได้โดยตรวจหาเชื้อจากสารคัดหลั่งในจมูกหรือลำคอ เสมหะ น้ำล้างปอดและน้ำล้างหลอดลม หรือการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทางภูมิคุ้มกัน (serology testing) การวินิจฉัยปัจจุบันมีการตรวจโดย PCR หรือ NAAT ที่ทำได้เร็ว และสามารถตรวจแบบหาหลายเชื้อพร้อมกัน (syndromic multiplex PCR panels) เพราะมี coinfection กับเชื้ออื่นได้ด้วย อย่างไรก็ดีการตรวจ swab จากเยื่อบุด้านหลังโพรงจมูก (nasopharygeal swab) ที่ใช้ในการตรวจการติดเชื้อทางเดินหายใจทั่วไปอาจมีความไวต่ำกว่าการตรวจจากคอหอย (throat swab) สำหรับการตรวจหา Mycoplasma pneumoniae

คำแนะนำเพื่อการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ
1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
2. ดูแลร่างกายให้อบอุ่นในช่วงอากาศหนาวหรืออากาศเปลี่ยนแปลง
3. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจล หลังสัมผัสสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อย ๆ
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยอาการทางเดินหายใจ เช่น อาการหวัด หรือปอดอักเสบ
5. ผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ ต้องป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น โดยปฏิบัติดังนี้
        - ควรหยุดเรียน หยุดงาน แม้จะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 3 - 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ
        - สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อต้องคลุกคลีกับผู้อื่น
        - ใช้กระดาษทิชชู่หรือผ้าเช็ดหน้าปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้ง เวลาไอ จาม และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ และสบู่หรือเจลล้างมือ
        - หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น เช่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไมโคพลาสมา หากมีการข้างต้น ควรรีบพบแพทย์

P.S. FYI – For Your Information

เผยแพร่ : ณาดาร์ หมื่นชล
(เจ้าหน้าที่พัฒนาและบริหารจัดการสารสนเทศ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society

แหล่งที่มา

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

BBC

เจ้าของข้อมูล: 
กรมควบคุมโรค
Hits 678 ครั้ง