ไมโครพลาสติกในหิมะ!

วันที่เผยแพร่: 
Mon 25 January 2021

การพบไมโครพลาสติกในทะเลอาจเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นตัวในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม เพราะปริมาณการใช้พลาสติกที่มีมากขึ้นอย่างมาก จนถึง ค.ศ. 2020

ทั่วโลกมีปริมาณถึง 330 ล้านตัน แต่ปัจจุบัน นักวิจัยพบพลาสติกบนเทือกเขาสูงอย่างเอเวอเรสต์ด้วยเช่นกัน แม้พื้นที่ดังกล่าวมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 8,850 เมตร

“เรารู้จักพลาสติกที่พบในทะเลลึก แต่บัดนี้ กลับพบพลาสติบนเขาที่สูงที่สุดเช่นกัน” ดร.อิโมเจน แนปเปอร์ (Imogen Napper) นักสมุทรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยพลายเม้าท์

แห่งสหราชอาณาจักร กล่าว “พลาสติกอยู่ทุกที่ในสภาพแวดล้อมรอบตัว”

คณะทำงานที่นำโดยแนปเปอร์เก็บตัวอย่างหิมะและน้ำจากหลายพื้นที่ในเทือกเขาเอเวอเรสต์ และนำมาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ พบไมโครพลาสติกซึ่งแฝงตัวอยู่หิมะ

และน้ำดังกล่าวข้อค้นพบได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร One Earth ทั้งนี้ อ้างอิงจากตัวอย่างในการสำรวจเทือกเขาเอเวอเรสต์ ประเทศเนปาลโดยคณะวิจัยเนชั่นแนลจีโอกราฟิก ค.ศ. 2019

พลาสติกเหล่านี้มาจากกระเป๋า ขวด และสิ่งของอื่น ๆ ที่แตกเป็นชิ้นย่อย ที่ติดตัวไปกับนักเดินทาง “เดิมที ผมไม่เคยคิดถึงผลจากการสำรวจว่าจะมีหน้าตาอย่างไร ...เมื่อเป็นเช่นนี้

คงต้องกลับมาทบทวนอย่างจริงจัง” แนปเปอร์กล่าวย้ำถึงตัวอย่างทั้งหมดจากเอเวอเรสต์ที่พบไมโครพลาสติกทั้งหมด นับเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดอย่างจริงจังถึงมลพิษจากไมโครพลาสติก

บนภูเขาสูงบางที ผลการสำรวจอาจไม่สร้างความประหลาดใจนัก เพราะในแต่ละปี นักเดินทางนับหลายร้อยพยายามปีนสู่ยอดเขา ขยะจากการเดินทางบนเส้นทางได้รับการขนานนามว่า

“ถังขยะที่สูงที่สุดในโลก” ชนิดพลาสติกที่คณะวิจัยค้นพบคือ โพลิแอสเตอร์ ซึ่งมาจากอุปกรณ์และเครื่องแต่งกายของนักเดินทางเหล่านั้น

ผลงานวิจัยของ ดร.แนปเปอร์สอดคล้องกับการค้นพบมลพิษไมโครพลาสติกในพื้นที่สูง อย่างเทือกเขาแอลป์ในสวิตเซอร์แลนด์และเทือกเขาพี-รินิสในฝรั่งเศสโดยอนุภาคพลาสติก

เหล่านั้นปลิวมากับลมจากหลายแห่งทุกวันนี้ ด้วยวิกฤตพลาสติกในสิ่งแวดล้อม จึงเกิดโครงการสำคัญในการแก้ปัญหา ทั้งการคิดค้นสถานีจัดเก็บขยะในทะเลอย่าง The Ocean Cleanup

และความพยายามในแก้ปัญหาที่ต้นทาง ดังเช่นศาสตราจารย์ริชาร์ด ทอมป์สัน(Professor Richard Thompson) หัวหน้าหน่วยวิจัยนานาชาติ ขยะทางทะเล กล่าวถึงความสำคัญ

ในการออกแบบวัสดุที่ทำหน้าที่ได้ดังพลาสติก แต่ไม่สร้างมลภาวะหลังการใช้งานหรือส่งผลกระทบอันตราย นับเป็นนิมิตรหมายสำคัญที่ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

มลพิษจากพลาสติก เพื่อวันข้างหน้าของอนุชน

ไมโครพลาสติกคืออะไร?

ไมโครพลาสติกคือชิ้นพลาสติกขนาดเล็กที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเกิดขึ้นเมื่อพลาสติกขนาดใหญ่

เช่น ขวดน้ำ กระเป๋า ภาชนะ แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ลงสู่ผืนดินหรือพื้นน้ำ จนกลายเป็นมลพิษสิ่งแวดล้อม

พลาสติกบางประเภทมีขนาดเล็กจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เราเรียกพลาสติกประเภทนี้ว่า “นาโนพลาสติก”(nanoplastics)

ผู้เขียน

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

ที่มาของแหล่งข้อมูล

I.E. Napper et al. Reaching New heights in plastic pollution — preliminary findings of microplastics on Mount Everest. One Earth. Published online November 20, 2020. doi: 10.1016/j.oneear.2020.10.020.

Newsround, Microplastics found in snow close to summit of Mount Everest. Published online November 21, 2020, available from https://www.bbc.co.uk/newsround/55018012, accessed on January 11, 2021.

Rice, Doyle. 'Real eye-opener': Microplastic pollution discovered in snow near top of Mount Everest. Published online November 20, 2020, available from https://www.usatoday.com/story/news/nation/2020/11/20/mount-everest-micr..., accessed on January 11, 2021.

Wilke, Carolyn. Analyze this: Microplastics are showing up in Mount Everest’s snow. Published online January 6, 2021, available from https://www.sciencenewsforstudents.org/article/analyze-this-microplastic..., accessed on January 11, 2021.

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B0
Hits 278 ครั้ง