วันตระหนักรู้ภัยสึนามิโลก

วันที่: 
05 November

สึนามิเป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับภัยพิบัติอื่น ๆ แต่มันก็ก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง ถึงกระนั้น ความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ก็สามารถทำให้บรรเทาเบา บางลงได้ โดยอาศัยความรู้ระดับง่าย ๆ ที่ว่า แผ่นดินไหว จะทำให้เกิดสึนามิตามมา

เมื่อเช้ามืดวันอังคารที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้เผชิญกับแผ่นดินไหวรุนแรง 7.4 แมกนิจูดและคลื่นสึนามิพัดสู่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ โชคดีที่ความเสียหายยังไม่รุนแรง นายโตชิฮิโร นิคาอิ เลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น ได้กล่าวไว้ในโอกาสการประชุมสุดยอดระดับมัธยมฯ “วันตระหนักรู้ภัยสึนามิโลก” ณ เมืองคุโรชิโอะ จังหวัดโคชิ

วันที่ 5 พ.ย. ถูกกำหนดให้เป็น “วันตระหนักรู้ภัยสึนามิโลก” โดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อเดือนธ.ค.ปีที่ผ่านมา เป็นวันที่ระลึกถึงเรื่องสั้นของญี่ปุ่นที่โด่งดัง ชื่อว่า “อินามูระ โน ฮิ” ซึ่งหมายถึง “ไฟมัดข้าว”

ในปี พ.ศ. 2397 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่จังหวัดวากายามะ ซึ่งเป็นเมืองบ้านเกิดของเขา หัวหน้าหมู่บ้านคนหนึ่ง ชื่อ โคเรียว ฮามากูจิ ซึ่งได้เคยเรียนรู้จากการเล่าสืบต่อกันมาว่า แผ่นดินไหวที่รุนแรงจะทำให้เกิดสึนามิที่ก่อให้เกิดหายนะใหญ่หลวง เมื่อเห็นว่า ชาวบ้านคนอื่นไม่ได้ตระหนักถึงหายนะใหญ่หลวงที่จะตามมา ฮามากูจิ จึงจุดไฟเผาข้าวเปลือกที่เพิ่งเก็บเกี่ยวมาวางกองอยู่บนลานซึ่งเป็นเนินเพื่อเป็นดวงไฟส่งสัญญาณให้คนทั่วไปได้รับรู้ แม้ว่าข้าวเปลือกจะมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเขาก็ตาม แต่ไฟที่เขาจุดขึ้นได้ชี้นำแนวทางให้ชาวบ้านหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูงทำให้พวกเขารอดจากภัยสึนามิที่ตามมา

สึนามิเป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับภัยพิบัติอื่น ๆ แต่มันก็ก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง ถึงกระนั้น ความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ก็สามารถทำให้บรรเทาเบา บางลงได้ โดยอาศัยความรู้ระดับง่าย ๆ ที่ว่า แผ่นดินไหว จะทำให้เกิดสึนามิตามมา

แผ่นดินไหวที่เกิดทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ปีพ.ศ.  2554 ทำให้คนตายมากกว่า 15,000 คน โดยยังมีผู้สูญหายอีกประมาณ 3,000 คน และสิ่งที่ทำให้เสียใจมากที่สุดก็คือ เด็ก ๆ จำนวนมากหลบหนีภัยได้ช้า จึงทำให้พวกเขาเสียชีวิต

สึนามิเป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นไม่บ่อยนักเมื่อเทียบกับภัยพิบัติอื่น ๆ แต่มันก็ก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง ถึงกระนั้น ความทุกข์ยากของมวลมนุษย์ก็สามารถทำให้บรรเทาเบา บางลงได้ โดยอาศัยความรู้ระดับง่าย ๆ ที่ว่า แผ่นดินไหว จะทำให้เกิดสึนามิตามมา

แผ่นดินไหวที่เกิดทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ปีพ.ศ.  2554 ทำให้คนตายมากกว่า 15,000 คน โดยยังมีผู้สูญหายอีกประมาณ 3,000 คน และสิ่งที่ทำให้เสียใจมากที่สุดก็คือ เด็ก ๆ จำนวนมากหลบหนีภัยได้ช้า จึงทำให้พวกเขาเสียชีวิต

ไม่จำเป็นต้องบอกเลยว่า ญี่ปุ่นไม่ใช่เพียงประเทศเดียวที่เสี่ยงต่อภัยสึนามิ ดังตัวอย่างเช่น มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายจำนวนกว่า 200,000 คน จากการเกิดสึนามิในมหาสมุทรอินเดียในปี พ.ศ. 2547 หากเพียงแค่คนทั่วไปรู้มากขึ้นเกี่ยวกับภัยสึนามิในตอนนั้น คงมีคนรอดชีวิตได้อีกจำนวนมาก ในฐานะเป็นนักการเมือง และพลเมืองของญี่ปุ่น ที่เคยประสบและฟื้นฟูจากหายนะภัยธรรมชาตินับไม่ถ้วน เขาจึงปรารถนาที่จะเผยแพร่ความรู้เรื่องสึนามิไปทั่วโลก และทำให้ผู้คนอีกจำนวนมากรอดชีวิตเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเชื่อว่า การทำให้พวกเขาตระหนักรู้ผ่านเหตุการณ์สำคัญ อย่าง “วันตระหนักรู้ภัยสึนามิโลก” สามารถบรรเทาความร้ายแรงที่เกิดจากสึนามิได้  นอกจากนั้น การส่งเสริมให้มีการลงทุนในด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันผู้คนให้รอดชีวิตจากภัยสึนามิและภัยพิบัติอื่น ๆ ด้วย เรื่องสั้นที่นำมาเล่าข้างต้นทำให้เราเกิดความรู้พิเศษในตัวเอง

ญี่ปุ่นทุกวันนี้ เป็นผู้นำในแนวทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสำคัญ ๆ ในระดับโลก การสนองตอบต่อการเกิดภัยพิบัติของประชาคมโลก ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้เน้นการใช้มาตรการป้องกันหลังเกิดภัยพิบัติ แง่มุมที่สำคัญที่สุดในการลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ คือ การบ่มเพาะความเข้าใจในภยันตรายของสึนามิ และการสนองตอบต่อภยันตรายดังกล่าวจากคนจำนวนมากเท่าที่จะมากได้ โดยเฉพาะเด็ก ๆ และกระตุ้นให้พวกเขาร่วมกันทำหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยสึนามิ

เพื่อสร้างมาตรการการมีส่วนร่วมกับเด็ก ๆ ทั่วโลก ซึ่งมีส่วนในการกำหนดชะตากรรมในอนาคต ญี่ปุ่นกำลังร่วมมือทำงานกับสำนักงานการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ โดยญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมสุดยอดระดับโรงเรียนมัธยมเกี่ยวกับ “วันตระหนักรู้ภัยสึนามิโลก” ที่ ตำบลคุโรชิโอะ จังหวัดโคชิ ในวันที่ 25-26 พ.ย. โดยเชิญนักเรียนมัธยมประมาณ 250 คนจากทั่วโลกเข้าร่วม โดยหวังว่า ทูตเยาวชนแห่งวันตระหนักรู้เรื่องสึนามิโลกเหล่านี้ จะได้ร่วมแบ่งปันความรู้เรื่องการลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติระหว่างออกภาคสนาม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งนี้ก็เพื่อการปกป้องชีวิตอันมีค่าต่อไป