วันโอโซนโลก (World Ozone Day)

วันที่: 
16 September

วันโอโซนโลก World Ozone Day ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทาอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสาร ว่าด้วยการเลิกใช้สารทาลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล" สาระ สาคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการ พิทักษ์ ชั้นโอโซน และ เป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว

หลังจากองค์การสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ผลักดันให้มีการลงนามใน อนุสัญญาเวียนนา ว่าด้วยการพิทักษ์ชั้นโอโซน ในปี พ.ศ.2528 (1985) ปัจจุบันมี สมาชิก 176 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต่อมาได้มีข้อกำหนดที่เรียกว่า พิธีสารมอนทรีออล ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2530 (1987) ณ นคร มอนทรีออล โดยประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวน 47 ประเทศได้ให้สัตยาบันต่อข้อกำหนด ว่าด้วยการลดและเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน รัฐบาลต่างๆ เห็นความจำเป็นของมาตรการที่แข็งแกร่งเพื่อลดและเลิกใช้สารทำลายโอโซน ซึ่งได้แก่ CFC-11, CFC-12, CFC-113, CFC-114, CFC-115 และ Halon -1211, Halon-1301, Halon-2402 จึงมีหมายกำหนดเลิกใช้บนพื้นฐานการประเมินทางวิทยาศาสตร์ นับจากนั้นมาได้มีประเทศอื่นที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารแล้วกว่า 175 ประเทศ (ข้อมูลวันที่ 20 กรกฎาคม 2543) รวมทั้งประเทศไทย (โดยได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 ) และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปีต่อๆ มาอีก 5 ครั้ง เพื่อเพิ่มมาตรการในการควบคุมสารทำลายโอโซนให้รัดกุมและได้ผลเร็วขึ้น

"โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชาระ ล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้าเสียได้ โดยการนาโอโซนผสมกับน้า ทาให้แบคทีเรียในน้าถูกโอโซนทาลาย เหลือแต่น้าบริสุทธิ์ มาทาน้าดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี จากสาเหตุดังกล่าวจึงทาให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันโอโซนโลก” เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์การตั้งวันโอโซนโลก World Ozone Day

1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

2. เพื่อช่วยกันลดใช้สาร CFC และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทาลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ

รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวันโอโซนโลก World Ozone Day

โอโซน เป็นก๊าซสีน้ำเงินเข้ม พบได้ทั่วไปในบรรยากาศโลก โดยอยู่ในบรรยากาศระดับสูงที่เรียกว่าชั้นสตราโซเฟียร์ โอโซนจะจับตัวกันเป็นก้อนปกคลุมทั่วโลก บางแห่งจะหนา และบางในบางแห่ง ชั้นโอโซนจะทำหน้าที่ปกป้องโลกจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ รังสีนี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น และทำให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต เพราะรังสีอัลตราไวโอเลตทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยปริมาณรังสีที่กระทบผิวหนังมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง ตาเป็นต้อหรือมัวลง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสารที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต มีผลทำให้พืชและสัตว์กลายพันธุ์ เกิดการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์

โอโซน มีคุณสมบัติ ฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด ทำลายจุลินทรีย์ รวมทั้งคุณสมบัติในการชำระล้างสารพิษที่ตก ค้าง และยังแก้ปัญหาน้ำเสียได้ โดยนำโอโซน ผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์มาทำน้ำดื่มหรือใช้บริโภค โอโซนยังมีผลต่ออุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง