ในอวกาศมีออกซิเจนอยู่มาก แต่ทำไมเราหายใจในอวกาศไม่ได้?

ในอวกาศมีออกซิเจนอยู่มาก แต่ทำไมเราหายใจในอวกาศไม่ได้?
:
ขอเกริ่นก่อนว่า ออกซิเจนอะตอม กับ ออกซิเจนโมเลกุล มีความแตกต่างกัน ซึ่งออกซิเจนอะตอมมีสัญลักษณ์เป็น O แต่ออกซิเจนโมเลกุลมีสัญลักษณ์เป็น O2
:
ในอวกาศมีออกซิเจนอะตอมลักษณะนี้อยู่ถึง 96% เลยทีเดียว แต่เราก็ไม่สามารถนำมาหายใจได้อยู่ดี เนื่องจากออกซิเจนที่เราใช้หายใจกันคือ ออกซิเจนโมเลกุลหรือ O2 เป็นออกซิเจนที่ประกอบไปด้วยออกซิเจน 2 อะตอม เชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์
:
ยิ่งห่างไกลโลกออกไปมากเท่าไร แรงดึงดูดหรือสนามโน้มถ่วงของโลกก็ยิ่งลดลง ออกซิเจนยิ่งเบาบาง ความดันบรรยากาศลดลง ดังนั้นเมื่ออยู่ในที่สูง เราจึงรู้สึกได้ว่าหายใจลำบาก
:
แต่เมื่อหลุดออกจากสนามโน้มถ่วงโลกแล้วและไม่มีแรงกระทำอีกต่อไป ออกซิเจนจะเริ่มอยู่ห่างไกลกันออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ อะตอมของออกซิเจนในอวกาศที่มีความไม่เสถียรจะจับตัวแน่นกับละอองดาว ขัดขวางการรวมตัวกันเองเป็นโมเลกุลออกซิเจน จึงกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีออกซิเจนโมเลกุลที่เราใช้หายใจได้อยู่ในอวกาศเลยได้เลยนั่นเอง
:
#STKC

วันที่: 
Mon 13 December 2021
แหล่งที่มา: 
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/90375/-sciear-sci-
Hits 4,288 ครั้ง