ผักเรืองแสง นวัตกรรมแสงสว่าง
วิทยาศาสตร์ไม่เคยหยุดนิ่ง ถ้าหิ่งห้อยเรืองแสงได้ ทำไมต้นไม้จะเรืองแสงไม่ได้ล่ะ? มีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน มาดูกันเลย
ทีมนีกวิจัยจาก MIT (Massachusetts Institute of Technology) ได้ใช้เอนไซม์ "ลูซิเฟอเรส" (Luciferase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดเดียวกันกับที่ทำให้หิ่งห้อยเรืองแสงตอนกลางคืน โดยเอนไซม์ตัวนี้จะไปเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ระหว่างโปรตีนลูซิเฟอรินกับออกซิเจน และได้แสงเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของปฏิกริยานี้
ทีมวิจัยได้เริ่มต้นการสร้างผักเรืองแสงโดยการนำสารต่างๆ เข้าสู่ใบพืชประเภทผัดสลัดน้ำผ่านการแช่น้ำ และเพิ่มแรงดันเพื่อให้องค์ประกอบซึมเข้าสู่ใบผ่านรูเล็กๆ ในใบผัก เมื่อใบหลั่งสารลูซิเฟอรินซึ่งมีอยู่ในเซลล์ของพืช เอนไซม์ลูเฟอเรสก็จะทำหน้าที่ของมัน เกิดปฏิกิริยาเคมีจนเรืองแสงในที่สุด ในครั้งแรกผักที่ใช้ทดลองสามารถเรืองแสงได้เพียง 45 นาที แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาจนทำให้มันเรืองแสงได้ยาวนานถึงเกือบ 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว
ถึงแม้ว่าผักสลัดน้ำจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ทีมวิจัยได้มีแผนที่จะต่อยอดไปใช้กับต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อที่จะนำไปทดแทนแสงสว่างจากเสาไฟฟ้าริมถนนในอนาคตได้นั่นเองครับ
#STKC