WHO ให้ชื่อ "โอไมครอน" สายพันธุ์ใหม่ที่พบแถบแอฟริกาใต้ หลายชาติกลับมาจำกัดการเดินทาง

ข่าวประจำวันที่: 
Tue 30 November 2021

   นานาชาติ รวมถึงไทยออกมาตรการควบคุมการเดินทางจากประเทศในทวีปแอฟริกาใต้ หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) 
ประกาศให้เชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่พบทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เป็นสายพันธุ์ที่ "น่ากังวล" และให้ชื่อว่า โอไมครอน 
(Omicron)

   WHO แถลงว่า เชื้อนี้มีการกลายพันธุ์ในหลายจุด และหลักฐานเบื้องต้นพบว่ามีความเสี่ยงที่จะติดซ้ำได้ ประเทศแอฟริกาใต้
รายงานการพบเชื้อนี้ไปยังองค์การอนามัยโลกเมื่อ 24 พ.ย. และมีการยืนยันว่าถูกพบใน บอตสวานา เบลเยียม ฮ่องกง 
และอิสราเอล ส่งผลให้หลายประเทศประกาศห้าม หรือจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศเหล่านั้นกับประเทศทางตอนใต้ของ
ทวีปแอฟริกา โอไมครอนถือเป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดที่ 5 ที่องค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่า
กังวล หลังจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของประเทศแอฟริกาใต้ 
ตรวจพบการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ชนิดใหม่ ซึ่งมีการกลายพันธุ์อย่างรุนแรงในยีนหลายสิบตำแหน่ง 
ทำให้หวั่นเกรงกันว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้อาจแพร่ระบาดได้ง่าย และเป็นอันตรายยิ่งกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ทั่วโลกเคยพบมา

     ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดังกล่าว แรกเริ่มมีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 ก่อนที่ WHO 
จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีกว่า โอไมครอน

     เจ้าหน้าที่พบการระบาดในจังหวัดเคาเต็ง (Gauteng) ของแอฟริกาใต้เป็นหลัก โดยขณะนี้มีผู้ติดเชื้อที่ได้รับ
การยืนยันแล้ว 77 ราย นอกจากนี้ยังพบผู้ติดเชื้อในประเทศบอตสวานาอีก 4 ราย รวมทั้งพบกรณีที่ผู้ติดเชื้อเดินทาง
จากแอฟริกาใต้ไปยังฮ่องกงด้วยเที่ยวบินตรงอีก 1 ราย

   ศาสตราจารย์ ทูลิโอ เด โอลิเวรา ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการรับมือโรคระบาดของแอฟริกาใต้ บอกว่าไวรัส
โควิดชนิดใหม่นี้มีการกลายพันธุ์ของยีนรวมทั้งสิ้นถึง 50 ตำแหน่ง ซึ่งถือว่าผิดปกติอย่างยิ่งและทำให้มันมีความแตก
ต่างจากเชื้อโควิดกลายพันธุ์อื่น ๆ ที่เคยพบมาเป็นอย่างมาก

-การกลายพันธุ์แบบเหนือความคาดหมายนี้ จัดเป็นการกลายพันธุ์ของโปรตีนบนส่วนหนามของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง 
 ซึ่งส่วนดังกล่าวมีความสำคัญยิ่ง ในการเป็นกุญแจที่ไวรัสใช้ไขประตูเข้าสู่เซลล์ร่างกายมนุษย์

นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึด
กับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่งด้วย ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่ร้ายแรงอย่างสายพันธุ์เดลตา มีการกลายพันธุ์
ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น

    ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การกลายพันธุ์อย่างรุนแรงในลักษณะนี้ น่าจะเกิดขึ้นจากการติดเชื้อในผู้ป่วยเพียงรายเดียว 
โดยร่างกายของผู้ป่วยที่เป็นต้นตอของการกลายพันธุ์ดังกล่าว ไม่สามารถต่อสู้ต้านทานกับเชื้อโรคได้การที่เชื้อไวรัส 
B.1.1.529 มีการเปลี่ยนแปลงจนแตกต่างไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมซึ่งมีต้น
กำเนิดที่นครอู่ฮั่นของจีน ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่า วัคซีนโควิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อกลาย
พันธุ์ตัวนี้ และหากมีการแพร่ระบาดลามออกไปเป็นวงกว้าง ก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์โควิดในหลายประเทศ 
ซึ่งกำลังเผชิญกับการระบาดระลอก 4 เลวร้ายยิ่งขึ้น

 

แหล่งที่มา: 
https://www.bbc.com/thai/international-59428316