มวลความเย็นมหาสมุทรแอตแลนติก ยืนหนึ่งท่ามกลางภาวะโลกร้อน

มวลความเย็นมหาสมุทรแอตแลนติก
ยืนหนึ่งท่ามกลางภาวะโลกร้อน
 
ทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่าภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของทั้งโลกสูงขึ้น แต่ว่ามีจุดหนึ่งเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ยืนหนึ่งท่ามกลางอุณหภูมิที่ลดลงเรื่อยๆ แบบไม่สนโลกเลยทีเดียว
 
บริเวณนี้ถูกเรียกว่า "รูโหว่ของภาวะโลกร้อนแอตแลนติกเหนือ" (North Atlantic Warming Hole) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำและอากาศกลางมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณตอนใต้ของเกาะกรีนแลนด์ มีอุณหภูมิลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุมาจากการที่กระแสน้ำ Atlantic Meridional Overturning Circulation (AMOC) อ่อนแรงและไหลช้าลง
 
ปกติแล้ว กระแสน้ำ AMOC จะนำกระแสน้ำอุ่นจากเขตร้อนไหลขึ้นเหนือไปยังชายฝั่งของทวีปยุโรปในส่วนที่เป็นน้ำแข็ง เมื่อกระแสน้ำอุ่นเจอกับน้ำแข็ง ก็จะทำให้ละลายและไหลกลับไปทวีปอเมริกาต่อไป
 
แต่การที่กระแสน้ำ AMOC ไหลช้าลง ทำให้น้ำเย็นสะสมตัวที่กลางมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือมากขึ้น จนเกิดเป็นมวลความเย็น และเมื่อกระแสน้ำเย็นลง ยังก่อให้เกิดเมฆระดับต่ำปกคลุมพื้นที่ การที่มีเมฆมาปกคลุมทำให้ช่วยสะท้อนรังสี UV และความร้อนจากดวงอาทิตย์ออกไป ทำให้บริเวณนี้มีอุณหภูมิลดต่ำลงเรื่อยๆ นั่นเอง
 
#STKC

วันที่: 
Fri 7 August 2020
แหล่งที่มา: 
https://www.bbc.com/thai/features-53277773
Hits 798 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD: