แบคทีเรียเลปโตสไปร่า (Leptospira) ที่มากับน้ำท่วม

วันที่เผยแพร่: 
Fri 13 December 2024

FYI Today! ช่วงนี้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้หลายจังหวัด เชื้อแบคทีเรียขนาดเล็กมอง ‘เลปโตสไปร่า ก็มักจะมากับน้ำท่วมน่ะสิ

     เลปโตสไปร่า (Leptospira) ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อ “โรคฉี่หนู” หรือ เลปโตสไปโรซิส พบได้เฉพาะในท้องทุ่งนาหรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง “หนู” ที่อาศัยตามอาคารบ้านเรือน สำนักงานต่างๆ เป็นพาหะของโรคเช่นเดียวกัน

     เลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นเชื้อแบคทีเรียของสัตว์ที่สามารถติดต่อมาสู่คน (Zoonotic Disease) และเป็นกลุ่มอาการของโรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิด ที่อยู่ในไตและกระเพาะปัสสาวะของสัตว์นำโรค เช่น หนู โค กระบือ สุกร สุนัข แพะ แกะ โดยมีหนูเป็นสัตว์แพร่โรคที่สำคัญ ก่ออาการหลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ (serovars) และปริมาณเชื้อที่ได้รับ เนื่องจากเชื้อชนิดนี้จะถูกขับออกมากับฉี่หนูและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมในน้ำหรือที่ชื้นแฉะทำให้เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก ผิวหนังที่แช่อยู่ในน้ำนานๆ รวมถึงการหายใจเอาละอองน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าไป นอกจากนี้ยังติดต่อได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ การติดเชื้อมีได้ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการ มีอาการน้อย อาการรุนแรง หรือถึงขั้นเสียชีวิต ผู้ที่ติดเชื้อในพื้นที่ที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ หรือแสดงอาการน้อย โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อเลปโตสไปรา Leptospira ซึ่งมีหลายชนิด

     เชื้อโรคเลปโตสไปโรซิสเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร ?

1. เข้าทางบาดแผล/รอยถลอกหรือผิวหนังที่แช่น้ำจนอ่อนนุ่ม เช่น ขาที่ยืนแช่น้ำทั้งวัน เท้าที่ถูกของมีคมบาดเกิดบาดแผล ผิวหนังที่ถูกเกาจนมีรอยถลอก หรือรอยแตกที่ฝ่าเท้าทั้งหมดที่เป็นช่องทางที่เชื้อโรคเลปโตสไปโรซิสสามารถชอนไชเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งสิ้น
2. ทางเนื้อเยื่ออ่อน ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เชื้อที่ทำให้เกิดโรคเลปโตสไปโรซิสสามารถไชผ่านเนื้อเยื่ออ่อน ๆ ที่บุตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุภายในปาก เยื่อบุภายในอวัยวะเพศ เป็นต้น เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณเหล่านี้บาง และอ่อนนุ่ม ดังนั้น การแช่น้ำ การลืมตาในน้ำ การดื่มน้ำที่เชื้อโรคนี้หรือการกินอาหารที่ ปนเปื้อนฉี่ของสัตว์นำโรค ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งสิ้น ส่วนกรณีที่หนูฉี่ใส่น้ำ หรืออาหารที่รับประทานเข้าไปก็มีโอกาสเกิดโรคได้แต่พบได้น้อย

     ป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคเลปโตสไปโรซิสได้อย่างไร ?

การปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เชื้อโรคเลปโตสไปโรซิสเข้าสู่ร่างกายจะลดความเสี่ยงในการติดโรคเลปโตสไปโรซิส ได้ เช่น
การป้องกันตนเองในภาวะน้ำท่วม
     ระยะนํ้าท่วม
• หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำ แช่น้ำ ย่ำโคลนนาน ๆ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ซับให้แห้งโดยเร็วที่สุด
• ควรสวมรองเท้าบู๊ท หรือรองเท้าที่เหมาะสม สามารถป้องกันน้ำหรือป้องกันการถูกของมีคมบาดได้ หากต้องลุยน้ำ ย่ำโคลน เดินบนที่ชื้นแฉะ จะช่วยลดการเกิดบาดแผลและลดการสัมผัสกับน้ำที่อาจมีเชื้อโรค
• รับประทานอาหารที่สะอาดและเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด
• เก็บกวาดขยะใส่ถุง พลาสติก มัดปากถุง ให้แน่น ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู และสัตว์อื่น ๆ
• ดูแลที่พักให้สะอาด จัดของให้เป็นระเบียบไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู และไม่ควรนานที่ท่วมขังมาล้างบ้าน
• หากมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขาและมีประวัติ แช่น้ำย่ำน้ำ 7 วันก่อนมีอาการ ให้สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ไม่ควรรับประทานยาเอง ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ที่ออกมาให้บริการในพื้นที่ เพราะการรักษาทันท่วงทีจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจะนำไปสู่การเสียชีวิต

     ระยะหลังน้ำท่วม ควรปฏิบัติดังนี้
• สำรวจพื้นที่และปรับสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ทำทางเดินเท้าให้้สูงกว่าพื้นปกติ ปรับปรุงระบบท่อระบายน้ำและส้วม เป็นต้น
• สวมรองเท้าบู๊ท หรือรองเท้าที่เหมาะสมสามารถป้องกันน้ำได้หากต้องลุยน้ำ ย่ำโคลน เดินบนที่ชื้นแฉะ
• เก็บกวาดขยะใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูและสัตว์ อื่น ๆ
• สวมถุงมือยางขณะทำความสะอาด เก็บกวาดบ้านเรือน ถนนและสิ่งสาธารณะประโยชน์ หลังการเก็บกวาด
• ทำความสะอาดที่พัก ต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ซับให้แห้งโดยเร็วที่สุด
• รับประทานอาหารที่สะอาด และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด

     การควบคุมและกำจัดแหล่งรังโรค

- หมั่นล้างมือภายหลังจับต้องเนื้อ ซากสัตว์ และสัตว์ทุกชนิด
- หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ควรสวมรองเท้าบู๊ทเพื่อป้องกัน - หลังเสร็จภารกิจที่ต้องสัมผัสน้ำหรือที่ชื้นแฉะแล้ว ควรรีบอาบน้ำชำระร่างกาย หรือล้างมือ ล้างเท้า ให้สะอาดทันที
- กำจัดหนู ซึ่งเป็นพาหะนำโรค
- ปรับปรุงสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด
- ปิดฝาถังขยะ และหมั่นกำจัดขยะโดยเฉพาะเศษอาหาร ไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
- พื้นคอกของสัตว์เลี้ยง ควรเป็นพื้นชีเมนต์ ผิวเรียบ ดูแลให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ให้มีน้ำหรือปัสสาวะสัตว์ขังอยู่
- เมื่อสัตว์เลี้ยงป่วย ต้องแจ้งให้สัตวแพทย์รักษาโดยเร็ว
- เมื่อคนป่วยหรือมีอาการน่าสงสัย ควรรีบพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที จะได้ปลอดภัยจากโรค

     ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในแหล่งน้ำหรือโคลนที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมรองเท้าบู๊ทและถุงมือยางให้มิดชิดเมื่อขึ้นจากน้้นควรชำาระล้างร่างกายด้วยสบู่ทันทีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเลปโตสไปราที่อาจปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ปรับปรุง/ดูแลด้านสุขาภิบาลตามอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัย เช่น ก้าจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลที่จะเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของหนู ไม่รับประทานน้้านมดิบ รก หรือเนื้อสัตว์ที่ปรุง ไม่สุก เพราะอาจมีเชื้อเลปโตสไปรา ปนเปื้อนอยู่ ทั้งนี้หากพบอาการน่าสงสัยว่าติดเชื้อ ควรพบแพทย์ทันที ไม่ซื้อยามารับประทานเองเพราะอาจจะส่งผลเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

 

เผยแพร่ : ณาดาร์ หมื่นชล
(เจ้าหน้าที่พัฒนาและบริหารจัดการสารสนเทศ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

 

Social Media
Facebook : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society

แหล่งที่มา

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดจันทบุรี

เจ้าของข้อมูล: 
กรมปศุสัตว์, กรมควบคุมโรค
Hits 919 ครั้ง
หมวดหมู่ OECD: