มาทำความรู้จัก โควิด XBB.1.16
โควิด XBB.1.16 เป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่จริงไหม มีอาการอะไรบ้างที่สังเกตเห็นได้ แล้วอันตรายมาก-น้อยแค่ไหน มาศึกษาข้อมูลให้เข้าใจกันก่อนครับ
โควิดสายพันธุ์ XBB.1.1.16 หรือที่เรียกว่า “อาร์คตูรุส” ตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือน ม.ค. 2566 ก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะขึ้นบัญชีเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวัง เมื่อวันที่ 22 มี.ค เป็นสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน โควิดสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่างสายพันธุ์ BA.2.10.1 และ BA.2.75 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์หลักคือ โควิดโอมิครอน BA.2
อาการโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16
มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ น้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ยังพบมีรายงานการเกิดเยื่อบุตาอักเสบสูงขึ้น ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการตาแดง เคืองตา ขี้ตามาก ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ก่อนหน้านี้
โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ติดง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนเดิมหรือไม่ ?
โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามของไวรัส เพิ่มขึ้น 3 ตำแหน่งคือ E180V, K478R และ S486P ทำให้สามารถเกาะติดเซลล์ของมนุษย์ได้ดีกว่าสายพันธุ์เดิม อีกทั้งพบว่า XBB.1.16 สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนเดิม 1.5 – 2 เท่า
ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง ?
ผู้ป่วยในกลุ่ม 608 คือ กลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป รวมถึงกลุ่มคนที่ไม่ได้รับวัคซีนและไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรง
โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 รักษาอย่างไร
โควิด XBB.1.16 ก็คือสายพันธุ์โอมิครอนตัวหนึ่ง ซึ่งจะเห็นว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง สามารถรับประทานยาเพื่อรักษาตามอาการทั่วไป หากเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 608 หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสร่วมด้วย อาทิ ยาแพกซ์โลวิด ยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นต้น ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ปอดอักเสบ จะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยได้รับยาต้านไวรัสและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
แหล่งที่มา
https://www.bbc.com/thai/articles/cje5e3z0xz7o
https://www.synphaet.co.th
https://www.hfocus.org/content/2023/04/27474
เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)
Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
instagram : stkcsociety