UV INDEX อันตรายกว่าที่คิด

วันที่เผยแพร่: 
Mon 10 April 2023

          แดดเมืองไทยร้อนจนแทบทนไม่ไหว โดยเฉพาะในตอนกลางวัน และรู้หรือไม่ ? ปัจจุบันเกือบทั่วทั้งประเทศมีค่า ความรุนของแดด (UV Index) ค่าความแรงทะลุเพดานความรุนแรงสูงจัด ที่เป็นอันตรายสุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังและปัญหาดวงตา และควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน เช็กความแรงของแดด

          UV Index หรือ ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต เข้าใจง่ายๆ คือ “ความแรงของแดด” เป็นการวัดการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในพื้นที่หรือเวลานั้นๆ  คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาในปี พ.ศ. 2535 และได้นำมาปรับใช้ใหม่โดยองค์การอนามัยโลก และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกของสหประชาชาติ ใน พ.ศ. 2537

เวลา Uv Index สีสัญลักษณ์/ ระดับความแรง การป้องกัน

07.00 น. 17.00 น.

0–2.9 สีเขียว “ความรุนแรงต่ำ” สวมแว่นกันแดดในวันที่ท้องฟ้าโปร่ง
08.00 น.  16.00 น. 3–5.9 สีเหลือง “ความรุนแรงปานกลาง” ควรปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า หากต้องอยู่กลางแจ้งให้หลีกเลี่ยงในช่วงเที่ยงวัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีแสงมากที่สุด
09.00 น.  15.00 น. 6–7.9 สีส้ม “ความรุนแรงสูง” ปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า สวมหมวก สวมแว่นกันแดด ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+  อยู่กลางแจ้งให้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
10.00 น.  14.00 น. 8–10.9 สีแดง “ความรุนแรงสูงมาก” ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อผ้ากันแดด สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง และไม่อยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
11.00 น. 13.00 น. 11+ สีม่วง “ความรุนแรงสูงจัด” ควรระมัดระวังอย่างมาก โดยใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว สวมแว่นกันแดด สวมหมวกที่สามารถปกปิดได้มิดชิด และหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งนานกว่า 3 ชั่วโมง

          โดยส่วนใหญ่แล้ว จังหวัดที่มีความแรงของแดดสูงมาก - สูงจัด (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป) ได้แก่ กาญจนบุรี กรุงเทพฯ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา ผู้ที่อาศัยในจังหวัดเหล่านี้จึงควรระมัดระวังอย่างมากในการหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่แดดจัด เช่น 10.00-15.00 น. เพราะถ้าหากโดดแดดในช่วงนี้ ประมาณ 15-20 นาที อาจทำให้ผิวหนังเกรียมแดด (sun burn) ได้ และในระยะยาว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับดวงตาและมะเร็งผิวหนังด้วยเช่นกัน

          ท้ายที่สุดแล้วเราควรดูแลผิวตัวเองด้วยการใช้ครีมกันแดด ซึ่งแพทย์แนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไปเป็นประจำทุกวันทั้งใบหน้าและผิวกาย โดยเฉพาะเด็กอ่อนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพผิวหนังอ่อนแอหรือแพ้แสงแดด ควรหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดระหว่างเวลา 10.00-15.00 น. หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก สามารถป้องกันตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยการสวมหมวก สวมแว่นกันยูวี สวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย กางร่ม เพื่อสุขภาพผิวพรรณและดวงตาในระยะยาว

แหล่งที่มา
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/uv-index
 

เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
instagram : stkcsociety

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/uv-index-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94
Hits 1,360 ครั้ง