ชีวิตติดจอระวังวุ้นตาเสื่อม!

วันที่เผยแพร่: 
Wed 18 May 2022

   ยอมรับเลยว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมาก ทั้งการทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ หรือในชีวิตประจำวันที่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อติดต่อสื่อสารหรือดูความเคลื่อนไหวในแต่ละวันไม่ว่าไม่ว่าจะก่อนนอนก็ต้องจับโทรศัพท์ ตื่นมามือก็ควานหาเป็นอย่างแรก แต่รู้หรือไม่การติดจอมาก ๆ ยังทำให้วุ้นตาเสื่อมอีกด้วย แม้โรคนี้จะเป็นโรคที่พบได้ในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้สายตาอย่างผิดวิธี ทำให้ดวงตาถูกใช้งานอย่างหนัก จนสายตาเสียจนทำให้วุ้นตาเสื่อมขึ้นมา แล้ววุ้นตาเสื่อมคืออะไร ส่งผลเสียต่อดวงตาแค่ไหน เป็นแล้วหายหรือไม่ ตามมาดูกัน

วุ้นตาเสื่อมคืออะไร มีอาการอย่างไร
    ในลูกตาของเราจะมีวุ้นตา (vitreous) เป็นส่วนประกอบในลูกตา ซึ่งจะอยู่ระหว่างตัวเลนส์กับตัวจอประสาทตา มีหน้าที่ในการคงภาวะตัวลูกตาไว้ มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำ โปรตีน และเส้นใย เมื่ออายุมากขึ้นวุ้นตาก็เริ่มเสื่อม เมื่อวุ้นตาเริ่มเสื่อมตัวกลายสภาพเป็นน้ำ เส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็กในตาจะหดจับกันเป็นก้อนตะกอนขุ่น และวุ้นตาจะลอกออกจากผิวจอตา โดยมีอาการดังนี้

-เห็นเงาดำลอยไปมาในตา 
-เห็นเงาดำจุดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 
-มองไม่ชัด เหมือนมีหยากไย่ในลูกตา
-เห็นแสงวาบในตา 
-ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง

สาเหตุของวุ้นตาเสื่อม
    ส่วนมากเรามักจะรู้กันอยู่แล้วว่าโรควุ้นตาเสื่อม มักเกิดเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยพบมากในผู้ที่มีอายุมาก 40 ปีขึ้นไป แต่ในบางคนก็อาจมีปัจจัยมากระตุ้นให้เกิดภาวะวุ้นในตาเสื่อมได้เร็วขึ้น ซึ่งพบในวัยหนุ่มสาว และคนทำงานออฟฟิศมากขึ้น โดยมีสาเหตุดังนี้

-ใช้งานดวงตาที่หนัก จ้องจอมากเกินไป
-ได้รับการกระทบกระเทือนที่ดวงตา 
-การผ่าตัดที่กระทำภายในลูกตา
-คนที่สายตาสั้นมาก ๆ  ยิ่งสั้นมากก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น
-มีภาวะแทรกซ้อนจากต้อกระจก
-มีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน

ดูแลดวงตาให้ชะลอวุ้นตาเสื่อมก่อนวัย

-ไม่ควรใช้สายตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักสายตาทุก 20 นาที 
-ปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจอโทรศัพท์มือถือให้สว่างพอดีและสบายตา ไม่จ้าหรือมืดเกินไป เพราะจะทำให้สายตาใช้งานหนักเกินไป   
-หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ 
-เข้ารับการตรวจตาพร้อมกับวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจาก โรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ ภาวะวุ้นในตาเสื่อม 
-ไม่กินอาหารซ้ำ ๆ ควรกินอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ และอาหารที่ช่วยบำรุงดวงตา เช่น บูลเบอร์รี่สกัด เบต้าแคโรทีน แอสต้าแซนทีน ฯลฯ

แหล่งที่มา
https://www.muangthai.co.th/th/article/vitreous-degeneration

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1
Hits 897 ครั้ง