ตุ๊กตาสัตว์แก้บนรักษ์โลก วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม

วันที่เผยแพร่: 
Wed 5 April 2023

       ตุ๊กตาสัตว์แก้บน เป็นความเชื่อที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน ใช้เพื่อถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการขอพรหรือ “แก้บน” ม้าลายนับเป็น “ตุ๊กตาสัตว์แก้บน” ยอดนิยมอันดับต้นๆ ตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ม้าลายขนาดเล็กใหญ่มีผู้นิยมนำไปตั้งถวายไว้ตามศาลและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ 
       รู้หรือไม่ว่า “ตุ๊กตาสัตว์แก้บน” สร้างปัญหาด้านภูมิทัศน์ ทั้งภายในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือพื้นที่สาธารณะต่างๆ ยิ่งกว่านั้นยังก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ หรือ PM 2.5 ที่เกิดจากการนำซากตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์จำนวนมหาศาลไปย่อยสลายและทำลายทิ้ง 
       คุณ อิทธิพล  พรหมฝาย ผู้จัดการโครงการเพื่อนสวนพฤกษ์ กล่าวว่า “ปัญหาข้างต้นถือเป็นแรงบันดาลใจให้ริเริ่มโครงการเพื่อนสวนพฤกษ์ เพราะเรามั่นใจว่าจะต้องมีวิธีที่สามารถเปลี่ยนตุ๊กตาสัตว์เหล่านั้นให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เพิ่มปัญหามลพิษทางอากาศที่กำลังคุกคามสุขภาพของประชาชนในขณะนี้”
      ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับโครงการเพื่อนสวนพฤกษ์ (Forest Friends Project) และ บริษัท เดนท์สุ ครีเอทีฟ ประเทศไทย ได้พัฒนาต้นแบบตุ๊กตาแก้บน “ZERO POLLUTION ZEBRA” ที่พัฒนาจากวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรขึ้นมา ดร. นัฐวุฒิ​ บุญยืน​ นักวิจัยทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร ไบโอเทค ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “จุดเด่นของ ZERO POLLUTION ZEBRA คือ สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เป็นแร่ธาตุให้ดิน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย” องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ต่อยอดโครงการสู่อุตสาหกรรมการผลิตตุ๊กตาสัตว์แก้บนนี้และสินค้าอื่นๆ ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไปได้

แหล่งที่มา
https://www.biotec.or.th

 

เผยแพร่ : ว่าที่ร้อยตรีณภัทร โพธิ์อยู่
(เจ้าหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์และประสานงานโครงการ)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)

Social Media
Facebook : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society 
Tiktok : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
instagram : stkcsociety

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1
Hits 409 ครั้ง