ทำความรู้จัก ‘ลมวนเย็น (Cold Vortex)’

วันที่เผยแพร่: 
Thu 17 April 2025

FYI Today! จะกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2568 ที่ประเทศจีนมีมวลอากาศเย็นที่พัดผ่านกรุงปักกิ่งและพื้นที่ทางตอนเหนือของจีน ส่งผลให้เกิดลมแรงและพายุทรายอย่างกว้างขวาง ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของจีนได้ออกประกาศเตือนภัยลมแรงระดับสีส้มเป็นครั้งแรกในรอบสิบปี โดยคาดว่าลมกระโชกแรงในบางพื้นที่อาจแตะระดับ 13 ซึ่งมีความรุนแรงขนาดที่สามารถทำลายทรัพย์สินบนบกได้ โดยหม่า ซวี่ข่วน นักพยากรณ์อาวุโสของศูนย์พยากรณ์อากาศระบุว่าลมแรงในครั้งนี้เกิดจาก "ลมวนเย็น (Cold Vortex)" stkc เลยจะพามารู้จักกับ ลมวนเย็น (Cold Vortex)

Polar Vortex หรือเรียกอีกอย่างว่า ลมวนขั้วโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่และมีอากาศหนาวเย็น โดยอยู่บริเวณขั้วโลกใต้และขั้วโลกเหนือ โดยมี Polar Jet Stream หรือกระแสลมที่พัดจากตะวันตกสู่ตะวันออกคอยขวางกั้นอากาศเย็นของบริเวณขั้วโลกและอากาศอุ่นของบริเวณเขตร้อน หรือเรียกได้ว่า เป็นกำแพงลมคอยขวางกั้นไม่ให้อากาศเย็นแผ่ไปสู่พื้นที่อื่นๆ
โดยปกติแล้ว Polar Vortex จะมีการขยายตัวมากที่สุดและรุนแรงที่สุดในช่วงฤดูหนาว ทำให้ภูมิภาคอเมริกา ยุโรป และเอเชียทางตอนเหนือ มีอากาศเย็นจัดและหิมะตกหนัก และเมื่ออุณหภูมิระหว่างขั้วโลกและบริเวณเขตร้อนต่างกันมากที่สุด หรือตรงกับช่วงฤดูร้อน Polar Vortex จะอ่อนกำลังลง

Polar Vortex ปรากฏการณ์ ผลพวงจากภาวะโลกร้อน
สิ่งที่ทำให้ ปรากฏการณ์ Polar Vortex นี้เป็นที่พูดถึงเป็นวงกว้างนั้น เกิดจากปรากฏการณ์นี้มาในช่วงเวลาที่ผิดปกติ ซึ่งหลายคนได้คาดการณ์ว่าเป็นสาเหตุมาจาก ภาวะโลกร้อน
ทว่านักวิจัยจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA), Amy Butler กล่าวว่า ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดจากภาวะโลกร้อนหรือไม่เนื่องจากไม่ได้มีการเก็บข้อมูลจากการสังเกตชั้นบรรยากาศ Stratosphere ในระยะยาว แต่จากการเก็บข้อมูลในระยะสั้น และการทดลองสภาพภูมิอากาศด้วยแบบจำลอง Stratosphere ทำให้เห็นว่าอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นส่งผลให้ Polar Jet Stream นั้นอ่อนกำลังลง

แหล่งที่มา

mgr online

กรุงเทพธุรกิจ

thairath

เผยแพร่ : ณาดาร์ หมื่นชล
กลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ (พร.)
กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

Social Media
Facebook : stkcsociety
Twitter : stkcsociety
Tiktok : stkcsociety
Youtube channel : STKC Society

Hits 65 ครั้ง