ภัยมืดจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

วันที่เผยแพร่: 
Mon 27 September 2021

ภัยมืดจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเข้ามา มีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ในอดีตการทำความสะอาดโดยทั่วไปจะใช้น้ำในการทำความสะอาด ต่อมาการนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ร่วมกับน้ำในการทำให้สิ่งสกปรกหลุด ออก และได้มีการพัฒนาสิ่งที่นำมาใช้ทำความสะอาดเรื่อยๆ ซึ่งสารเคมีเป็นตัวเลือกหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการทำให้สิ่งสกปรกหลุดได้ง่าย ขึ้นและเร็วขึ้น รวมทั้งเพิ่มคุณสมบัติด้านอื่นๆ อีก เช่น ฆ่าเชื้อโรค ฟอกสี เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับขจัดคราบสิ่งสกปรกต่างๆ ที่เกาะอยู่ตามพื้นผิว หรือสิ่งของ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีองค์ประกอบหลักเป็นสารลดแรงตึงผิว หรือกรด หรือด่าง หรือตัวทำละลายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งอย่าง ส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดประกอบด้วย

1. สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) มีหน้าที่หลัก คือ ทำความสะอาดโดยทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกไปแล้วแขวนลอยอยู่ในน้ำ ตัวอย่างของสารลดแรงตึงผิวชนิดต่างๆ เช่น alkyl sulphate, alkane sulponate, olefin sulphonate. เป็นต้น

2. กรด (acid) ทำหน้าที่ละลายแคลเซียมและขจัดคราบที่เกิดจากตะกอนของอนุภาคโลหะ นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดด่าง กระเบื้องและโถส้วม ตัวอย่างเช่น phosphoric acid, hydrochloric acid, hydroxyacetic acid โดยเฉพาะ hydrochloric acid เป็นกรดแก่ สามารถกัดกร่อนโลหะได้เป็นอย่างดี

3. ด่าง (alkali) ทำหน้าที่ปรับ pH ให้สูงขึ้นขณะทำความสะอาดทำปฏิกิริยาได้ดีกับไขมัน จึงใช้ผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องครัว ซึ่งคราบสกปรกเกิดจากไขมันเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่าง เช่น sodium hydroxide, sodium metasilicate, soduim carbonate เป็นต้น

4. สารลดความกระด้างของน้ำ (builder) มีหน้าที่จับอนุภาคโลหะในน้ำกระด้าง ซึ่งขัดขวางความสามารถในการทำความสะอาดของสารลดแรงตึงผิว สารลดความกระด้างของน้ำบางชนิดช่วยทำให้สิ่งสกปรกแขวนลอยอยู่ในน้ำ ไม่กลับไปตกค้างบนพื้นผิวของสิ่งที่ถูกทำความสะอาด ตัวอย่างเช่น complex phosphates, ethylene diamine tetraacetic acid (EDTA) เป็นต้น

5. ตัวทะละลาย (solvent) ทำหน้าที่ละลายไขมันและเพิ่มความสามารถในการละลายของส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ethanol, propyleneglycol, glyccerol เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบที่สามารถมีได้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น สารขัดถู, สารฟอกสี, สารต้านจุลินทรีย์, สี, น้ำหอม,สารกันเสีย, สารโพลิเมอร์ เป็นต้น

สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น เจ็บหน้าอก อ่อนเพลียบ่อยๆ ปวดศีรษะ และระคายเคืองผิวหนัง โดยแม่บ้านจะมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากกว่าคนที่ทำงานนอกบ้าน และยังพบว่า 70% ของอุบัติเหตุที่เกิดจากอันตรายของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด มักเกิดขึ้นกับเด็กอายุระหว่าง 1-5 ปี เนื่องจากความประมาทของผู้ใหญ่ เช่น การเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไว้ในที่ซึ่งเด็กสามารถหยิบจับได้ เป็นต้น

อันตรายจากความเป็นพิษของสารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง เช่น

- สารเคมีในผลิตภัณฑ์นั้นๆ
- จำนวนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้าน
- ปริมาณและความถี่ในการใช้งาน
- สภาพร่างกายของผู้ให้และผู้สัมผัส

นอกจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจะเกิดอันตรายต่อมนุษย์แล้วยังอาจส่งผลเสียถึง ธรรมชาติด้วย แต่ผลที่มีต่อธรรมชาติค่อนข้างน้อย ถ้าผู้ใช้ปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามมีสารบางชนิดที่อนุโลมให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ได้แก่ เกลือฟอสเฟตซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกลือฟอสเฟตที่ทิ้งลงสู่แห่งน้ำในปริมาณมาก จะทำให้พืชน้ำเติบโตได้อย่างรวดเร็วและปกคลุมผิวของน้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง และเป็นสาเหตุให้สัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ เหลือเฉพาะแบคทีเรียที่ไม่ต้องการออกซิเจนเจริญเติบโตได้เท่านั้น และทำให้เน่าเสียในที่สุด

ปัจจุบันเกลือฟอสเฟตถูกห้ามใช้ในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยอนุญาตให้ใช้เกลือฟอสเฟตในผงซักฟอกตาม มอก.78-2542 ได้ไม่เกินร้อยละ 20 สำหรับผงซักฟอกชนิดที่ฟอกด้วยมือและเครื่องวักผ้าและไม่เกินร้อยละ 28

นอกจากนี้ภาชนะบรรจุหลังการใช้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวด ล้อม ซึ่งอาจเกิดจากตัวภาชนะเอง หรือสารเคมีที่เหลือในภาชนะนั้นแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม วิธีที่จะช่วยลดปัญหานี้ได้แก่

1. กำจัดภาชนะตามคำแนะนำที่ติดไว้บนฉลาก
2. ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ ให้หมด ไม่เหลือทิ้งในภาชนะ
3. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำเป็นตัวทำความสะอาดร่วม ควรล้างภาชนะนั้นด้วยน้ำก่อนการทิ้ง
4. ควรทิ้งภาชนะที่บรรจุ ในที่ที่จัดไว้ให้ เพื่อง่ายต่อการทำลาย ไม่ทิ้งลงแม่น้ำ คู คลอง และแหล่งน้ำสาธารณะ
5. ภาชนะที่ทิ้งควรมีฉลากติดไว้เหมือนเดิม เพื่อให้ผู้มีหน้าที่กำจัด จัดการกับภาชนะนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น
6. ไม่ควรทิ้งภาชนะทำความสะอาดประเภทสเปรย์ที่ใช้หมดแล้วลงในกองไฟหรือเตา เผาขยะ และไม่ควรเก็บผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ไว้ใกล้เตาไฟ เพราะความร้อนอาจทำให้ระเบิดได้

แหล่งที่มา https://www.scimath.org/article-science/item/2101-dark-of-cleaning-products

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%94
Hits 1,129 ครั้ง