ภัยเงียบ... โรคผิวหนัง

วันที่เผยแพร่: 
Wed 20 January 2021

แสงแดดอันร้อนแรงนอกจากจะมีรังสียูวีที่ทำร้ายผิวของเราแล้ว อุณหภูมิที่ร้อนจัดก็ยังทำให้เสียสุขภาพได้อีกด้วยฤดูร้อนของประเทศไทย เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์

ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะในเดือนเมษายนดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะในช่วงเวลาเที่ยงวัน ทำให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าว

กว่าเดือนอื่น ๆ

เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายเราจะขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ โรคหนึ่งที่พบมากในเด็กเล็กนั่นก็คือ โรคผิวหนัง ในบางรายอาจเกิดผดผื่นร่วมด้วยและเมื่อเด็ก ๆ ออกไปเจอกับแสงแดด

อาจทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้ เนื่องจากเด็กมีผิวที่บอบบางและไวต่อแสงแดดและในบางรายหากมีอาการรุนแรง อาจเกิดเป็นโรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก (Juvenile dermatomyositis, JDM)

ซึ่งมีผลกระทบทั้งต่อกล้ามเนื้อและผิวหนัง มักแสดงอาการก่อนอายุ 16 ปีโรคนี้เป็นกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (Autoimmune disease) โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันจะช่วยในการป้องกัน

และทำลายเชื้อโรคในร่างกาย แต่โรคในกลุ่มนี้จะมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยภูมิคุ้มกันจะมาทำร้ายเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งผลจากการทำงานที่ผิดปกตินี้ทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ

ถูกทำลายโรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบในเด็ก (JDM) มีสาเหตุมาจากการอักเสบที่หลอดเลือดขนาดเล็กในกล้ามเนื้อ (Myositis) และผิวหนัง (Dermatitis) และจากหลายๆปัจจัยในปัจจุบัน

ทั้งในเรื่องของพันธุกรรมที่ควบคุมในแต่ละตัวบุคคลและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น แสงแดด หรือการติดเชื้อโดยในปัจจุบันพบว่าไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดสามารถกระตุ้น

ให้เกิดการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันได้บุคคลในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองได้ เช่นเบาหวานหรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่พบว่ามีความเสี่ยง

ที่จะเกิดในลูกคนถัดไปเนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจนดังนั้นปัจจุบันจึงยังไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ส่วนใหญ่อาการปวดกล้ามเนื้อมักมีอาการที่กล้ามเนื้อสะโพก ไหล่

และพบผื่นที่บริเวณใบหน้า เปลือกตา ข้อนิ้วมือ หัวเข่าและข้อศอก โดยผื่นอาจเกิดก่อนหรือหลังจากที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยโรคนี้เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบในผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 30

และในผู้ป่วยบางรายพบว่ามีโรคมะเร็งร่วมด้วย ซึ่งต่างกับในเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้จะไม่พบโรคมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ โดยการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการอักเสบได้ดีและรวดเร็ว การใช้ยากลุ่มเมธโธเทรกเซท (Methotrexate)

ยากดภูมิคุ้มกันตัวอื่น ๆ เช่นยาไซโคลสปอริน (Cyclosporin) ยาไมโคฟิโนเลทโมฟิทิล (Mycophenolate mofetyl) และยาไซโคลฟอสฟามายด์ (Cyclophosphamide) การให้อิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือด

(Intravenous immunoglobulin (IVIG))การให้แคลเซียมและวิตามินดีเสริมเนื่องจากความรุนแรงของอาการของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน การรักษาจึงแตกต่างกันไป เพราะในกรณีที่โรครุนแรง

จะมีการทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ อย่างถาวร ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นผู้ป่วยในกลุ่มนี้ควรจะได้รับการดูแลและการทำกายภาพบำบัด เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

ดังนั้นการดูแลทางด้านจิตใจจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้

ผู้เขียน นางสาวนพรัตน์ ยิ่งเมืองมาร

ที่มาของภาพ :
https://www.pobpad.com/dermatomyositis-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8...

ที่มาของแหล่งข้อมูล
https://www.printo.it/pediatric-rheumatology/TH/info/4/%E0%B9%82%E0%B8%A...(Juvenile-dermatomyositis-JDM)

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87
Hits 432 ครั้ง