เค็มแค่ไหน ไตไม่พัง ความดันไม่พุ่ง

1) ทำความเข้าใจก่อนว่า คำแนะนำในการบริโภคโซเดียม ไม่ควรเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ในขณะที่อาหารที่วางจำหน่ายทั่วไปต่อ 1 เสิร์ฟ ก็อาจให้โซเดียมอยู่แล้ว 600 – 1,500 มิลลิกรัมต่อมื้อ ซึ่งหมายความว่า ความแปรผันของปริมาณโซเดียมมีค่อนข้างมากจากอาหารที่วางขายในท้องตลาด จึงควรใช้วิธีลดเท่าที่ทำได้ และควบคุมแบบไม่ปล่อยผ่านบ่อยๆ ในทุกมื้อที่ได้รับประทานอาหาร

2) ลดการปรุง เติมน้ำปลา พริกน้ำปลา ซีอิ๊วและน้ำจิ้มต่าง ๆ ลงจากพฤติกรรมเดิม ๆ เช่น จากเคยเติม 3 ช้อนชา ก็ลดลงเหลือ 1-2 ช้อนชา หรือ เปลี่ยนจากการเติมทีละช้อนโต๊ะ เป็นช้อนชาก็ยิ่งดี

3) ลดพฤติกรรมการชุบน้ำจิ้ม เปลี่ยนเป็นแค่จิ้มครึ่งชิ้น เช่น ก่อนหน้าเคยจิ้มเนื้อย่างแบบชุบเนื้อแช่ทิ้งไว้ในน้ำจิ้ม ก็ลดเป็นจิ้มผิวๆ หรือชุบเนื้อครึ่งเดียว หรือจิ้มเพียงบางส่วน ไม่ปล่อยแช่ในน้ำจิ้มจนชุ่มโชก หรือตักน้ำจิ้มด้วยปลายช้อนมาใส่เนื้อที่จะกินแทนการจิ้ม

4) พิจารณาส่วนประกอบเมนูก่อนตัดสินใจบริโภค ระวังการกินอาหารโซเดียมสูงที่ซ้ำซ้อน เช่น ยำไข่เค็มหมูยอ จะเห็นได้ว่ามีผลิตภัณฑ์แปรรูปถึงสองชนิด คือ ไข่เค็ม และหมูยอ ซึ่งมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าไข่ปกติและหมูสดปกติ แนะนำให้เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบริโภค และเปลี่ยนอีกหนึ่งอย่างให้เป็นเนื้อสัตว์หรืออาหารจากแหล่งธรรมชาติ เช่น ยำไข่เค็มหมูยอ เปลี่ยนเป็น ยำไข่ดาวใส่หมูยอ หรือ ยำไข่เค็มใส่หมูชิ้น/หมูสับ แทน เป็นต้น

5) ลดปริมาณการซดน้ำแกง หรือราดน้ำผัด น้ำยำลงคลุกข้าว เพราะในน้ำปรุงรสเหล่านี้จะมีโซเดียมอยู่ในปริมาณสูง หากต้องการซดก็ซดแต่เพียงพอดี ไม่มากเกินไปหรือซดจนหมด

เท่านี้ เราก็ได้แนวทางการบริโภคอาหารไม่ให้ได้รับโซเดียมมากเกินไป จนเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่อสุขภาพร่างกายแล้ว

วันที่: 
Fri 12 March 2021
QR Code for https://www.stkc.go.th/info/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87
แหล่งที่มา: 
https://www.thaihealth.or.th/Content/54273-เค็มแค่ไหน%20ไตไม่พัง%20ความดันไม่พุ่ง.html
Hits 991 ครั้ง