กัญชา

วันที่เผยแพร่: 
Mon 4 March 2019

หากพูดถึงกัญชาบางคนมักจะนึกถึงยาเสพติด เพราะกัญชาถูกเพ่งเล็งไปที่โทษซะมากกว่าจนลืมนึกถึงประโยชน์ของมัน กัญชาก็ไม่ต่างจากยา หรืออาหารอื่น ๆ ซึ่งจะเกิด
ประโยชน์ หรือโทษนั้นก็อยู่ที่ปริมาณที่รับประทาน หรือปริมาณที่นำเข้าสู่ร่างกาย โดยประโยชน์ของกัญชา ได้แก่ สาร Tetrahydrocannabinol (THC) ในกัญชาทำให้
เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายเคลิบเคลิ้ม ทางการแพทย์ใช้ในการรักษาอาการเบื่ออาหารในคนที่เป็นโรคเอดส์ ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันหลอดเลือดจากการสูบบุหรี่ โรคหัวใจ
ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งได้ และใช้รักษาโรคผิวหนังอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบสาร Cannabidiol (CBD) ในกัญชา ที่มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง สามารถบรรเทา
อาการเจ็บปวดได้ดี ไม่มีฤทธิ์ต่อจิต และประสาท อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแม้เลิกสูบกะทันหัน

หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา หรือออสเตรเลีย กัญชานั้นเป็นเสมือนพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายแบบไม่ผิดกฎหมาย แม้กระทั่งใช้ผสมลงในอาหาร
ในขณะที่ประเทศไทยนั้น กัญชายังถูดจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อยู่ โดยบัญชีสารเสพติดแบ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522นั้น มี 5 ประเภทด้วยกัน
ได้แก่ ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน ฯลฯ, ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ฯลฯ, ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยา
ที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 เป็นส่วนผสม เช่น ยาแก้ไอที่มีฝิ่น หรือโคเดอีนผสมอยู่, ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ ประเภท 2
เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ฯ และประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชกระท่อม และกัญชานั่นเอง ในประเทศไทยแม้จะเคยมี
การเรียกร้องให้ถอดกัญชาออกจากพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แต่เรื่องยังอยู่ระหว่างการพิจารณา และวิจัยอย่างถี่ถ้วน เพราะการเปลี่ยนแนว
ความคิดเดิม ๆ ของคนไทย ที่มีต่อกัญชานั้น เป็นเรื่องอ่อนไหว และต้องใช้เวลาในการผลักดันอยู่พอสมควร อย่างไรก็ตามหากกัญชาถูกถอดออกจากพ.ร.บ.ยาเสพติด
ให้โทษ พ.ศ. 2522 สำเร็จนั่น จะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างมาก

เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวการอนุญาตให้ทดลองปลูกกัญชาใน จังหวัดสกลนครเป็นแห่งแรกของประเทศไทย แท้ที่จริงแล้วพืชดังกล่าว คือ กัญชง ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีถิ่น
กำเนิดมาจากพืชชนิดเดียวกันกับกัญชา โดยกัญชงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannnabis sativa L. Subsp. sativa ส่วนกัญชามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Cannabis sativa L. Subsp. indica ความใกล้ชิดกันของถิ่นกำเนิดทำให้พืชทั้งสองมีสัณฐานวิทยา และสรรพคุณใกล้เคียงกันนั่นเอง โดยความแตกต่างเด่น ๆ
ของกัญชง คือ ลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร (กัญชาสูงไม่ถึง 2 เมตร) ใบมีแฉก 7-9 แฉก (กัญชาใบมีแฉก 5-7 แฉก) และกัญชงมี THC หรือสารที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
น้อยกว่า 0.3% (กัญชามี THC 1-10%) ซึ่งสาเหตุที่อนุญาตให้ทดลองปลูกกัญชงได้เนื่องจาก กัญชงมีสาร THC น้อยกว่าในกัญชา โดยอนุญาตให้ปลูกเพื่อนำมาใช้
ในทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม

ที่มา :

ไทยรัฐออนไลน์. 2561. 10 ข้อ ดราม่ากัญชา ฝรั่งกินได้ถูกกฎหมาย คนไทยอย่าริลอง. อาหาร. แหล่งที่มา:
https://www.thairath.co.th/content/1179823. 25 เมษายน 2561
MedThai. 2560. กัญชง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกัญชง 14 ข้อ. สมุนไพร. แหล่งที่มา:
https://medthai.com/กัญชง/. 25 เมษายน 2561
TCIJ ออนไลน์. 2559. ปี 2560 เริ่มปลูก 'กัญชง' เพื่ออุตสาหกรรมใน 6 จังหวัด. ยาเสพติด. แหล่งที่มา:
https://www.tcijthai.com/news/2016/28/current/6620. 25 เมษายน 2561
Honestdocs. 2561. กัญชา รวมเรื่องน่ารู้ และสรรพคุณทางการแพทย์ ที่รู้แล้วต้องอึ้ง. อยู่ดีกินดี. แหล่งที่มา:
https://www.honestdocs.co/interesting-cannabis-medicinal-properties. 25 เมษายน 2561
กรุงเทพธุรกิจ. 2561. ชัดเจน!! ปลูก 'กัญชา' ผิดกฎหมาย ให้ปลูกแค่ 'กัญชง'. การเมือง. แหล่งที่มา:

เรียบเรียงโดย
นางสาวเพชรกวินท์ เนื่องสมศรี
นักวิชาการ กองพัฒนากิจกรรม

QR Code for https://www.stkc.go.th/stiarticle/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2
Hits 432 ครั้ง